นายแพทย์วิชัย ขัตติยวิทยากุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยขณะนำเจ้าหน้าที่ตรวจเก็บตัวอย่างปลาร้า ปลาแห้ง และอาหารแห้ง ที่ตลาดย่าโม เขตเทศบาลนครนครราชสีมา ส่งไปตรวจสอบยังศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์นครราชสีมา ว่า เพื่อเป็นการเฝ้าระวังอาหารไม่ปลอดภัยให้กับประชาชนผู้บริโภค เพราะก่อนหน้านี้ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พบปลาร้าในจังหวัดหนึ่ง มีสารฆ่าแมลงปนเปื้อนร้อยละ 90 ส่วนการพิสูจน์ตัวอย่างอาหารของนครราชสีมา คาดว่า อีก 1 สัปดาห์ จะทราบผล
นอกจากนี้ สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมายังกำชับให้สาธารณสุขทั้ง 32 อำเภอ ลงพื้นที่ตรวจเก็บตัวอย่างตามตลาดเช่นเดียวกัน
สำหรับผลการเฝ้าระวังอาหารไม่ปลอดภัยของหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารเขต 14 ในปี 2552 โดยเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ปลาร้า ปลาแห้ง ปลาเค็ม และปลาหวาน ที่จำหน่ายในท้องตลาดของจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 25 ตัวอย่าง เบื้องต้นพบสารฆ่าแมลง 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 32 ซึ่งได้ตักเตือนผู้ค้าแล้ว และให้หยุดขายไว้ชั่วคราว พร้อมทั้งขยายผลหาที่แหล่งผลิตเพื่อดำเนินคดี ซึ่งบทลงโทษสำหรับผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นอกจากนี้ สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมายังกำชับให้สาธารณสุขทั้ง 32 อำเภอ ลงพื้นที่ตรวจเก็บตัวอย่างตามตลาดเช่นเดียวกัน
สำหรับผลการเฝ้าระวังอาหารไม่ปลอดภัยของหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อความปลอดภัยด้านอาหารเขต 14 ในปี 2552 โดยเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างอาหารประเภทเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ปลาร้า ปลาแห้ง ปลาเค็ม และปลาหวาน ที่จำหน่ายในท้องตลาดของจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 25 ตัวอย่าง เบื้องต้นพบสารฆ่าแมลง 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 32 ซึ่งได้ตักเตือนผู้ค้าแล้ว และให้หยุดขายไว้ชั่วคราว พร้อมทั้งขยายผลหาที่แหล่งผลิตเพื่อดำเนินคดี ซึ่งบทลงโทษสำหรับผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ คือ จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ