นางดรุณี เอ็ดเวิร์ดส นายกสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย กล่าวในการประชุมวิชาการการแสดงนิทรรศการระดับนานาชาติของผลิตภัณฑ์อาหารในโลกอนาคต ระบุว่า ไทยมีโอกาสสูงในการเป็นผู้ผลิตอาหารให้ตลาดโลก โดยปัจจุบันไทยเป็นผู้ส่งออกอาหารในอันดับที่ 7 หรือมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียงร้อยละ 2.4 แต่รัฐบาลควรสนับสนุนงานวิจัยและร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหาร ที่เน้นเรื่องสุขภาพของผู้บริโภค ส่วนผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าอาหารยอดนิยมในตลาดโลก เช่น ต้มยำกุ้ง ควรระบุถึงประโยชน์ และวัตถุดิบ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มการรักษาสุขภาพ
เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านอุตสาหกรรมเกษตรและเก็บเกี่ยวผลผลิต สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การอาหารและเกษตรแห่งประชาชาติ หรือ FAO กล่าวว่า ในปี 2010 ประชากรในเขตเมืองของภูมิภาคอาเซียนจะมีประมาณร้อยละ 42.4 ซึ่งจะเน้นรับประทานอาหารที่ไม่ต้องใช้เวลาในการปรุงนาน และช่วยส่งเสริมสุขภาพ ขณะที่ภาคธุรกิจจะผลิตอาหารที่ให้คุณค่าในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ และในปี 2030 ประชากรจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 65 ปี ความต้องการอาหารในเชิงพลังงานจะลดลง รวมถึงความสามารถในการรับประทานอาหารนอกบ้านก็จะลดลงไปด้วย
เจ้าหน้าที่ระดับสูงด้านอุตสาหกรรมเกษตรและเก็บเกี่ยวผลผลิต สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก องค์การอาหารและเกษตรแห่งประชาชาติ หรือ FAO กล่าวว่า ในปี 2010 ประชากรในเขตเมืองของภูมิภาคอาเซียนจะมีประมาณร้อยละ 42.4 ซึ่งจะเน้นรับประทานอาหารที่ไม่ต้องใช้เวลาในการปรุงนาน และช่วยส่งเสริมสุขภาพ ขณะที่ภาคธุรกิจจะผลิตอาหารที่ให้คุณค่าในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะด้านสุขภาพ และในปี 2030 ประชากรจะมีอายุเฉลี่ยประมาณ 65 ปี ความต้องการอาหารในเชิงพลังงานจะลดลง รวมถึงความสามารถในการรับประทานอาหารนอกบ้านก็จะลดลงไปด้วย