ตลท.ผนึกบีโอไอ เร่งให้ข้อมูลผู้ประกอบการในภูมิภาค ชูจุดเด่นการลดภาษีนิติบุคคล โดยไม่จำกัดวงเงินและไม่จำกัดโครงการ หวังกระตุ้นบริษัทต่างๆ ในนิคมอุตฯ ทั่วประเทศ สนใจเข้าจดทะเบียน
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้บริษัทที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทในภูมิภาค เพื่อจะได้ใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเข้าจดทะเบียนได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคลโดยไม่จำกัดวงเงิน และไม่จำกัดจำนวนโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการขยายกิจการให้เติบโต
นางภัทรียา ยกตัวอย่างกรณีบริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนแรกที่จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีนิติบุคคลโดยไม่จำกัดวงเงิน ตั้งแต่ปี 2552 จนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามมาตรการดังกล่าว โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 นี้เป็นต้นไป ตลท. และบีโอไอ จะไปให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ โดยตรง ได้แก่ ชลบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ลำพูน โดยจะเน้นการชี้ให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากตลาดทุน เพื่อการเติบโตของบริษัท และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการทางภาษี
นางภัทรียา กล่าวว่า ตลท.จะร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสร้างกลไกในการกระตุ้นให้บริษัทที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนได้รับข้อมูล และบริการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจดทะเบียนให้รวดเร็วขึ้น อาทิ สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน รวมทั้งความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด โดยที่ ตลท.ได้ริเริ่มไว้ โดยเครือข่ายดังกล่าวนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจ และอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลการเข้าจดทะเบียน รวมทั้งเชื่อมต่อกับ ตลท. เพื่อการเข้าถึงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนบริษัทให้เข้ามาจดทะเบียนในปีนี้ และในปีต่อๆ ไป ได้รวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้ ตลท.ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเข้าถึงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมเช่น เครื่องประดับ ของเล่น นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมหนักที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และไม่สามารถพึ่งพาบริษัทแม่ในต่างประเทศได้ โดยเชื่อว่าการทำงานร่วมกับเครือข่ายดังกล่าว จะกระตุ้นความสนใจของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในภูมิภาคซึ่งมีอยู่จำนวนมากให้เข้าจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งให้ข้อมูลเพื่อกระตุ้นให้บริษัทที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียน โดยเฉพาะบริษัทในภูมิภาค เพื่อจะได้ใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการความร่วมมือระหว่างตลาดหลักทรัพย์ฯ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่สนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนเข้าจดทะเบียนได้รับยกเว้นภาษีนิติบุคคลโดยไม่จำกัดวงเงิน และไม่จำกัดจำนวนโครงการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการขยายกิจการให้เติบโต
นางภัทรียา ยกตัวอย่างกรณีบริษัท สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนแรกที่จะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีนิติบุคคลโดยไม่จำกัดวงเงิน ตั้งแต่ปี 2552 จนสิ้นสุดระยะเวลาโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามมาตรการดังกล่าว โดยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 นี้เป็นต้นไป ตลท. และบีโอไอ จะไปให้ข้อมูลแก่ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ และบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วประเทศ โดยตรง ได้แก่ ชลบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา พิษณุโลก ลำพูน โดยจะเน้นการชี้ให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากตลาดทุน เพื่อการเติบโตของบริษัท และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์จากมาตรการทางภาษี
นางภัทรียา กล่าวว่า ตลท.จะร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร เพื่อสร้างกลไกในการกระตุ้นให้บริษัทที่มีศักยภาพเข้าจดทะเบียนได้รับข้อมูล และบริการที่เกี่ยวข้องกับการเข้าจดทะเบียนให้รวดเร็วขึ้น อาทิ สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน รวมทั้งความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด โดยที่ ตลท.ได้ริเริ่มไว้ โดยเครือข่ายดังกล่าวนี้จะมีส่วนช่วยกระตุ้นความสนใจ และอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลการเข้าจดทะเบียน รวมทั้งเชื่อมต่อกับ ตลท. เพื่อการเข้าถึงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มจำนวนบริษัทให้เข้ามาจดทะเบียนในปีนี้ และในปีต่อๆ ไป ได้รวดเร็วขึ้น
ทั้งนี้ ตลท.ได้ตั้งเป้าหมายที่จะเข้าถึงผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมเช่น เครื่องประดับ ของเล่น นิคมอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมหนักที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง และไม่สามารถพึ่งพาบริษัทแม่ในต่างประเทศได้ โดยเชื่อว่าการทำงานร่วมกับเครือข่ายดังกล่าว จะกระตุ้นความสนใจของผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในภูมิภาคซึ่งมีอยู่จำนวนมากให้เข้าจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น