เศรษฐกิจญี่ปุ่นเติบโตขยายตัวด้วยอัตราที่เชื่องช้ากว่าที่เคยคิดกันเอาไว้มาก โดยตามตัวเลขปรับปรุงล่าสุดที่สำนักนายกรัฐมนตรีนำออกเผยแพร่วันพุธ(9) ระบุว่า ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ จีดีพีญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นด้วยระดับเท่ากับปีละ 1.3% เท่านั้น หลังจากที่เคยคาดการณ์ขั้นต้นก่อนหน้านี้ว่าทำได้ถึง 4.8% ทั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่าการฟื้นตัวอย่างอ่อนแรงของเศรษฐกิจแดนอาทิตย์อุทัย กำลังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินเยน
การปรับปรุงตัวเลขล่าสุดคราวนี้ยังหมายความว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งเพิ่งสามารถหลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งร้ายแรงที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ในรอบเดือนกรกฎาคม-กันยายนปีนี้ทำอัตราเติบโตได้สูงกว่าช่วงไตรมาสก่อนหน้าเพียงแค่ 0.3% จากที่เคยคาดการณ์เบื้องต้นทำได้ 1.2%
สำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า เหตุผลหลักที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์เบื้องต้นเป็นอย่างมากเช่นนี้ มาจากตัวเลขยอดเงินลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งคือยอดรวมค่าใช้จ่ายที่บริษัทต่างๆ ลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ๆ กล่าวคือ มีการปรับลดตัวเลขนี้ลงมากลายเป็นว่ายอดเงินลงทุนได้หดตัวติดลบ 2.8% จากที่ตอนคาดการณ์เบื้องต้นให้ไว้ว่าขยายตัว 1.6%
ส่วนสาเหตุที่การลงทุนของภาคธุรกิจลดลงนั้น ปัจจัยประการสำคัญคือเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จึงกระทบต่อรายได้และกำไรของพวกผู้ส่งออก ทำให้บริษัทญี่ปุ่นชะลอการใช้จ่ายไว้ก่อนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังดูผันผวนไม่แน่นอน
การปรับปรุงตัวเลขล่าสุดคราวนี้ยังหมายความว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นซึ่งเพิ่งสามารถหลุดพ้นจากภาวะถดถอยครั้งร้ายแรงที่สุดตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา ในรอบเดือนกรกฎาคม-กันยายนปีนี้ทำอัตราเติบโตได้สูงกว่าช่วงไตรมาสก่อนหน้าเพียงแค่ 0.3% จากที่เคยคาดการณ์เบื้องต้นทำได้ 1.2%
สำนักนายกรัฐมนตรีระบุว่า เหตุผลหลักที่อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์เบื้องต้นเป็นอย่างมากเช่นนี้ มาจากตัวเลขยอดเงินลงทุนของภาคธุรกิจ ซึ่งคือยอดรวมค่าใช้จ่ายที่บริษัทต่างๆ ลงทุนในสินทรัพย์ใหม่ๆ กล่าวคือ มีการปรับลดตัวเลขนี้ลงมากลายเป็นว่ายอดเงินลงทุนได้หดตัวติดลบ 2.8% จากที่ตอนคาดการณ์เบื้องต้นให้ไว้ว่าขยายตัว 1.6%
ส่วนสาเหตุที่การลงทุนของภาคธุรกิจลดลงนั้น ปัจจัยประการสำคัญคือเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จึงกระทบต่อรายได้และกำไรของพวกผู้ส่งออก ทำให้บริษัทญี่ปุ่นชะลอการใช้จ่ายไว้ก่อนท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังดูผันผวนไม่แน่นอน