ปรากฏการณ์ฟองสบู่แตกที่ดูไบ ทำให้นักลงทุนจำนวนมากเฝ้าลุ้นให้อาบูดาบี อีกรัฐหนึ่งในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์(ยูเออี) เข้าไปช่วยเหลือ
อันที่จริง แม้อาบูดาบีจะไม่ปรากฏเป็นข่าวเกรียวกราวเท่ากับดูไบ แต่รัฐนี้ก็ได้ออกกว้านซื้อกิจการไปทั่วโลกไม่แพ้กันเลย โดยช่วงหลังๆ มานี้ อาบูดาบีได้เร่งขยายอาณาจักรทางธุรกิจของตนด้วยยุทธศาสตร์ที่กระทำผ่านทางกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (sovereign-wealth fund – SWF)
อาบูดาบีจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ขึ้นมาหลายกองทุน และเข้าไปลงทุนในพวกบริษัทชั้นนำทั่วโลก, จัดตั้งกิจการร่วมทุนที่เกี่ยวเนื่องกันขึ้นมา, และหาทางมีบทบาทด้านการบริหาร ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะดึงเอาพวกอุตสาหกรรมอย่างเช่น เคมีภัณฑ์ เซมิคอนดักเตอร์ และการบิน ให้เข้าไปทำธุรกิจในรัฐของตน ในปัจจุบัน กองทุน “Abu Dhabi Investment Authority” ซึ่งเป็น SWFขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของรัฐแห่งนี้ ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น SWF รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยประมาณการกันว่ามีสินทรัพย์กว่า 600,000 ล้านดอลลาร์
มอนิเตอร์ กรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาในลอนดอน ซึ่งติดตามการดำเนินการของกองทุนความมั่งคั่งต่างๆ ระบุว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2009 พวกบริษัทอาบูดาบีซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลของผู้ปกครองรัฐ คือ ราชตระกูลอัล นายัน ได้บรรลุข้อตกลงธุรกิจเป็นมูลค่าราว 18,000 ล้านดอลลาร์ เท่ากับเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการลงทุนรวมของกองทุนความมั่งคั่งทั่วโลกในช่วงเวลาดังกล่าว
อันที่จริง แม้อาบูดาบีจะไม่ปรากฏเป็นข่าวเกรียวกราวเท่ากับดูไบ แต่รัฐนี้ก็ได้ออกกว้านซื้อกิจการไปทั่วโลกไม่แพ้กันเลย โดยช่วงหลังๆ มานี้ อาบูดาบีได้เร่งขยายอาณาจักรทางธุรกิจของตนด้วยยุทธศาสตร์ที่กระทำผ่านทางกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (sovereign-wealth fund – SWF)
อาบูดาบีจัดตั้งกองทุนประเภทนี้ขึ้นมาหลายกองทุน และเข้าไปลงทุนในพวกบริษัทชั้นนำทั่วโลก, จัดตั้งกิจการร่วมทุนที่เกี่ยวเนื่องกันขึ้นมา, และหาทางมีบทบาทด้านการบริหาร ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะดึงเอาพวกอุตสาหกรรมอย่างเช่น เคมีภัณฑ์ เซมิคอนดักเตอร์ และการบิน ให้เข้าไปทำธุรกิจในรัฐของตน ในปัจจุบัน กองทุน “Abu Dhabi Investment Authority” ซึ่งเป็น SWFขนาดใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของรัฐแห่งนี้ ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็น SWF รายใหญ่ที่สุดของโลก โดยประมาณการกันว่ามีสินทรัพย์กว่า 600,000 ล้านดอลลาร์
มอนิเตอร์ กรุ๊ป บริษัทที่ปรึกษาในลอนดอน ซึ่งติดตามการดำเนินการของกองทุนความมั่งคั่งต่างๆ ระบุว่า ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2009 พวกบริษัทอาบูดาบีซึ่งดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลของผู้ปกครองรัฐ คือ ราชตระกูลอัล นายัน ได้บรรลุข้อตกลงธุรกิจเป็นมูลค่าราว 18,000 ล้านดอลลาร์ เท่ากับเป็นกว่าครึ่งหนึ่งของมูลค่าการลงทุนรวมของกองทุนความมั่งคั่งทั่วโลกในช่วงเวลาดังกล่าว