รอยเตอร์ – ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคมลดต่ำ โดยที่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯและจีนเมื่อคำนวณเป็นอัตรารายปีแล้วกำลังยิ่งชะลอตัวมากขึ้น ทางด้านนักวิเคราะห์ระบุเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ประเทศใหญ่ๆทั่วโลกนำมาใช้ โดยที่บางอย่างก็หมดอายุลงแล้วนั้น กำลังให้ผลต่อเศรษฐกิจลดน้อยลงเป็นลำดับ
การส่งออกของญี่ปุ่นไปยังสหรัฐฯ กระเตื้องขึ้นน้อยกว่าการส่งออกไปยังตลาดในเอเชีย ทั้งนี้เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอย ในขณะที่ค่าเงินเยนซึ่งแข็งค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์ ก็ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของญี่ปุ่นด้วย
ทว่ายอดการส่งออกไปยังตลาดเฟื่องฟูใหม่อย่างจีน ก็ลดลงมากเช่นกันเมื่อคำนวณเป็นอัตรารายปี เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐบาลจีนและการเติบโตของตลาดสินเชื่อยังไม่ช่วยกระตุ้นผู้บริโภคจีนให้จับจ่ายเพิ่มขึ้น
การที่ยอดส่งออกลดต่ำลงเมื่อคำนวณเป็นอัตราต่อปี เป็นสิ่งที่ตลาดคาดหมายกันอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่ายอดส่งออกในเดือนกรกฎาคมนี้ ยังต่ำลงกว่าเดือนมิถุนายนด้วย หลังจากที่เดือนมิถุนายนสามารถพุ่งสูงกว่าเดือนพฤษภาคม
นอกจากนั้น ขณะนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในบางประเทศได้หมดอายุลงแล้ว นักเศรษฐศาสตร์จึงเตือนว่า เมื่อแรงสนับสนุนด้านการคลังเช่นนี้กำลังหมดสิ้นกันไปตามลำดับ การส่งออกของญี่ปุ่นก็น่าจะชะลอลงอีก เพราะตลาดแรงงานในสหรัฐฯ และยุโรปยังอ่อนแอ ผู้บริโภคจึงยังไม่สามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ปริมาณความต้องการสินค้าในญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างแข็งขันเช่นกัน โดยราคาสินค้าภาคบริการระหว่างธุรกิจต่อธุรกิจของเดือนกรกฎาคม ยังคงมีอัตราลดลงต่อปีเป็นสถิติใหม่ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม ท่ามกลางภาวะเงินฝืดที่สูงขึ้น
เซอิจิ ชิราอิชิ หัวหน้านักเศษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซี ซีเคียวริตีส์ ชี้ว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ยอดส่งออกของญี่ปุ่นมีอาการเหมือนตกลงไปไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทต่างๆ พากันสต็อกสินค้ากันใหม่ ประกอบกับได้อานิสงส์จากการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลก แต่ตัวเลขของเดือนกรกฎาคมกลับแสดงให้เห็นว่า กระแสความคึกคักของเศรษฐกิจฟื้นตัว กำลังแผ่วลงมาเสียแล้ว
“น่าสงสัยว่าการส่งออกยังจะเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ หากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ พากันสิ้นสุดลง เพราะปริมาณความต้องการสินค้าทั่วโลกที่แท้จริงอาจยังไม่เพิ่มขึ้นเต็มที่”
ทั้งนี้ เมื่อคำนวณแบบที่ปรับตัวแปรทางฤดูกาล ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคมจะลดลง 1.3 เปอร์เซ็นต์จากเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบสองเดือน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว การส่งออกเดือนกรกฎาคมจะลดลง 36.5 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ตัวเลขนี้จะต่ำกว่าตัวเลขซึ่งตลาดคาดการณ์กันไว้ที่ 38.6 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สูงกว่าของเดือนมิถุนายน ซึ่งการส่งออกที่คำนวณเป็นอัตราต่อปีลดลง 35.7 เปอร์เซ็นต์
การที่อัตราการส่งออกต่อปีของเดือนกรกฎาคมแสดงอาการว่า กำลังลดลงแบบเร่งตัวเช่นนี้ เป็นเพราะการส่งรถยนต์ไปจำหน่ายในตลาดตะวันออกกลาง รัสเซีย และสหรัฐฯ ลดต่ำลง เช่นเดียวกับการลดลงของยอดส่งออกเหล็กกล้าและเซมิคอนดักเตอร์ไปยังตลาดเอเชีย
ส่วนการส่งออกเหล็กกล้าไปตลาดจีนก็ยังไม่กระเตื้อง โดยมียอดส่งออกในเดือนกรกฎาคมลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 29 เปอร์เซ็นต์ เร่งตัวขึ้นอีกจากเดือนมิถุนายนซึ่งอยู่ในระดับ 19.1% ขณะที่ยอดส่งออกสินค้าโดยรวมไปยังจีนในเดือนกรกฎาคมก็ลดลง 26.5 เปอร์เซ็นต์ เร่งตัวขึ้นจากเดือนมิถุนายนซึ่งอยู่ที่ 23.7%
การส่งออกของญี่ปุ่นไปยังสหรัฐฯ กระเตื้องขึ้นน้อยกว่าการส่งออกไปยังตลาดในเอเชีย ทั้งนี้เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ยังไม่ฟื้นตัวจากภาวะถดถอย ในขณะที่ค่าเงินเยนซึ่งแข็งค่ากว่าค่าเงินดอลลาร์ ก็ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของญี่ปุ่นด้วย
ทว่ายอดการส่งออกไปยังตลาดเฟื่องฟูใหม่อย่างจีน ก็ลดลงมากเช่นกันเมื่อคำนวณเป็นอัตรารายปี เนื่องจากการใช้จ่ายของรัฐบาลจีนและการเติบโตของตลาดสินเชื่อยังไม่ช่วยกระตุ้นผู้บริโภคจีนให้จับจ่ายเพิ่มขึ้น
การที่ยอดส่งออกลดต่ำลงเมื่อคำนวณเป็นอัตราต่อปี เป็นสิ่งที่ตลาดคาดหมายกันอยู่แล้ว แต่ปรากฏว่ายอดส่งออกในเดือนกรกฎาคมนี้ ยังต่ำลงกว่าเดือนมิถุนายนด้วย หลังจากที่เดือนมิถุนายนสามารถพุ่งสูงกว่าเดือนพฤษภาคม
นอกจากนั้น ขณะนี้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในบางประเทศได้หมดอายุลงแล้ว นักเศรษฐศาสตร์จึงเตือนว่า เมื่อแรงสนับสนุนด้านการคลังเช่นนี้กำลังหมดสิ้นกันไปตามลำดับ การส่งออกของญี่ปุ่นก็น่าจะชะลอลงอีก เพราะตลาดแรงงานในสหรัฐฯ และยุโรปยังอ่อนแอ ผู้บริโภคจึงยังไม่สามารถใช้จ่ายได้มากขึ้น
ขณะเดียวกัน ปริมาณความต้องการสินค้าในญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างแข็งขันเช่นกัน โดยราคาสินค้าภาคบริการระหว่างธุรกิจต่อธุรกิจของเดือนกรกฎาคม ยังคงมีอัตราลดลงต่อปีเป็นสถิติใหม่ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สาม ท่ามกลางภาวะเงินฝืดที่สูงขึ้น
เซอิจิ ชิราอิชิ หัวหน้านักเศษฐศาสตร์ของเอชเอสบีซี ซีเคียวริตีส์ ชี้ว่า ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ยอดส่งออกของญี่ปุ่นมีอาการเหมือนตกลงไปไม่มากนัก เนื่องจากบริษัทต่างๆ พากันสต็อกสินค้ากันใหม่ ประกอบกับได้อานิสงส์จากการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลทั่วโลก แต่ตัวเลขของเดือนกรกฎาคมกลับแสดงให้เห็นว่า กระแสความคึกคักของเศรษฐกิจฟื้นตัว กำลังแผ่วลงมาเสียแล้ว
“น่าสงสัยว่าการส่งออกยังจะเพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่ หากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ พากันสิ้นสุดลง เพราะปริมาณความต้องการสินค้าทั่วโลกที่แท้จริงอาจยังไม่เพิ่มขึ้นเต็มที่”
ทั้งนี้ เมื่อคำนวณแบบที่ปรับตัวแปรทางฤดูกาล ยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคมจะลดลง 1.3 เปอร์เซ็นต์จากเดือนมิถุนายน ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบสองเดือน
เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว การส่งออกเดือนกรกฎาคมจะลดลง 36.5 เปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ตัวเลขนี้จะต่ำกว่าตัวเลขซึ่งตลาดคาดการณ์กันไว้ที่ 38.6 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็สูงกว่าของเดือนมิถุนายน ซึ่งการส่งออกที่คำนวณเป็นอัตราต่อปีลดลง 35.7 เปอร์เซ็นต์
การที่อัตราการส่งออกต่อปีของเดือนกรกฎาคมแสดงอาการว่า กำลังลดลงแบบเร่งตัวเช่นนี้ เป็นเพราะการส่งรถยนต์ไปจำหน่ายในตลาดตะวันออกกลาง รัสเซีย และสหรัฐฯ ลดต่ำลง เช่นเดียวกับการลดลงของยอดส่งออกเหล็กกล้าและเซมิคอนดักเตอร์ไปยังตลาดเอเชีย
ส่วนการส่งออกเหล็กกล้าไปตลาดจีนก็ยังไม่กระเตื้อง โดยมียอดส่งออกในเดือนกรกฎาคมลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 29 เปอร์เซ็นต์ เร่งตัวขึ้นอีกจากเดือนมิถุนายนซึ่งอยู่ในระดับ 19.1% ขณะที่ยอดส่งออกสินค้าโดยรวมไปยังจีนในเดือนกรกฎาคมก็ลดลง 26.5 เปอร์เซ็นต์ เร่งตัวขึ้นจากเดือนมิถุนายนซึ่งอยู่ที่ 23.7%