ในงานเสวนา เรื่อง "การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนภาคใต้" ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการและนักการเมืองในพื้นที่เห็นตรงกันว่า ปัญหาเกิดจากกลไกของรัฐขาดประสิทธิภาพ ไม่ได้เกิดจากความขัดแย้งทางศาสนาหรือทางวัฒนธรรม ส่วนข้อเสนอเรื่องนครปัตตานีของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรคเพื่อไทย มีมุมมองความเห็นที่แตกต่างกัน
ขณะที่นายมุข สุไลมาน โฆษกพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ปัตตานี เห็นว่านครปัตตานีเป็นแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจ และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ รวมถึงเป็นแนวคิดสอดคล้องกับพรรคมาตุภูมิ ที่เสนอตั้งทบวงการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
นายเจะอามิง โตะตาหยง ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า แนวคิดนครปัตตานีที่ พล.อ.ชวลิต เสนอ ยังไม่มีการอ้างอิงถึงหลักการ โครงสร้าง และวิธีการบริหารงานที่ชัดเจน และอาจจะซ้ำเติมไปสู่ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น
ดร.มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ นำพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร ปี 2528 ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกรุงเทพมหานคร เพื่อความมีประสิทธิภาพ มาอ้างอิงกับการตั้งนครปัตตานี โดยเห็นว่าไม่ควรด่วนปฏิเสธหรือตอบรับแนวคิดของ พล.อ.ชวลิต โดยปราศจากข้อมูลที่ชัดเจนรองรับ แต่เจ้าหน้าที่รัฐควรปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วยการรับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมด้านความคิดเห็นด้วยการตั้งสภาประชาชน และมีกฎหมายรองรับ
ขณะที่นายมุข สุไลมาน โฆษกพรรคมาตุภูมิ ซึ่งเป็นอดีต ส.ส.ปัตตานี เห็นว่านครปัตตานีเป็นแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจ และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ได้ รวมถึงเป็นแนวคิดสอดคล้องกับพรรคมาตุภูมิ ที่เสนอตั้งทบวงการบริหารการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
นายเจะอามิง โตะตาหยง ประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า แนวคิดนครปัตตานีที่ พล.อ.ชวลิต เสนอ ยังไม่มีการอ้างอิงถึงหลักการ โครงสร้าง และวิธีการบริหารงานที่ชัดเจน และอาจจะซ้ำเติมไปสู่ความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากขึ้น
ดร.มารค ตามไท ผู้อำนวยการสถาบันศาสนาวัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ นำพระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร ปี 2528 ที่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกรุงเทพมหานคร เพื่อความมีประสิทธิภาพ มาอ้างอิงกับการตั้งนครปัตตานี โดยเห็นว่าไม่ควรด่วนปฏิเสธหรือตอบรับแนวคิดของ พล.อ.ชวลิต โดยปราศจากข้อมูลที่ชัดเจนรองรับ แต่เจ้าหน้าที่รัฐควรปรับเปลี่ยนทัศนคติด้วยการรับฟังความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมด้านความคิดเห็นด้วยการตั้งสภาประชาชน และมีกฎหมายรองรับ