การประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยสามัญนิติบัญญัติ วันนี้ (26 พ.ย.) ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้ายก่อนปิดสมัยประชุม มีนายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานประชุม นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตั้งกระทู้ถามสดนายกรัฐมนตรี เรื่องมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 ของรัฐบาล โดยต้องการทราบว่าจะใช้ระยะเวลาในการช่วยเหลือประชาชนเป็นเวลาเท่าใด และจะมีมาตรการจัดการกับการทวงหนี้โหดอย่างไร
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า หากย้อนกลับไปเมื่อ 12 เดือนที่แล้ว ประเทศอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ไตรมาสสุดท้ายเศรษฐกิจติดลบร้อยละ 7.1 เมื่อรัฐบาลเข้ามารับภาระ จึงได้กำหนดนโยบายระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหลายมาตรการ เช่น มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนให้มีเงินใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนการจัดเก็บภาษีดีขึ้น นอกจากนโยบายระยะสั้นแล้ว ยังได้ดำเนินนโยบายอื่นเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง เช่น การประกันรายได้เกษตรกร การยกระดับชลประทานทั่วประเทศ การลดต้นทุนผู้ประกอบการในระบบขนส่ง รัฐบาลจึงต้องผลักดันเพื่อทำให้เข้มแข็งและมั่นคงมากขึ้น
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า รัฐบาลยังเน้นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ที่ทำมาตั้งแต่ต้น และแม้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่สอง จะเน้นเรื่องการลงทุน การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะที่หนึ่งยังต้องทำต่อไป ทั้งเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การเรียนฟรี เพราะถือเป็นนโยบายที่ถาวร
นอกจากนี้ ยังมีการแก้หนี้นอกระบบ โดยจะลงทะเบียนในเดือนธันวามคมนี้ ส่วนโครงการที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสบทบเงินชุมชน สมัยเปิดประชุมหน้าจะมีการเสนอเรื่องการลงทุนออม เพื่อเป็นหลักประกันในยามชรา ส่วนการประกันรายได้เกษตรกร ปีหน้าจะเริ่มมาตรการให้เกษตรกรใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อไป ขณะที่เรื่องการทวงหนี้โหด จะประสานกับกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และหน่วยงานอื่น เพื่อมาดูเรื่องผู้มีอิทธิพล ส่วนการเมืองยังเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องแก้ไข แต่จะเดินหน้าแก้ไขเศรษฐกิจสังคมเป็นหลัก โดยไม่เสียสมาธิกับปัญหาทางการเมือง
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ลุกขึ้นชี้แจงว่า หากย้อนกลับไปเมื่อ 12 เดือนที่แล้ว ประเทศอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ไตรมาสสุดท้ายเศรษฐกิจติดลบร้อยละ 7.1 เมื่อรัฐบาลเข้ามารับภาระ จึงได้กำหนดนโยบายระยะสั้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหลายมาตรการ เช่น มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชนให้มีเงินใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนการจัดเก็บภาษีดีขึ้น นอกจากนโยบายระยะสั้นแล้ว ยังได้ดำเนินนโยบายอื่นเพื่อมุ่งแก้ไขปัญหาให้ภาคประชาชนเข้มแข็ง เช่น การประกันรายได้เกษตรกร การยกระดับชลประทานทั่วประเทศ การลดต้นทุนผู้ประกอบการในระบบขนส่ง รัฐบาลจึงต้องผลักดันเพื่อทำให้เข้มแข็งและมั่นคงมากขึ้น
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า รัฐบาลยังเน้นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ที่ทำมาตั้งแต่ต้น และแม้มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่สอง จะเน้นเรื่องการลงทุน การสร้างอาชีพ สร้างรายได้ แต่การกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะที่หนึ่งยังต้องทำต่อไป ทั้งเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การเรียนฟรี เพราะถือเป็นนโยบายที่ถาวร
นอกจากนี้ ยังมีการแก้หนี้นอกระบบ โดยจะลงทะเบียนในเดือนธันวามคมนี้ ส่วนโครงการที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสบทบเงินชุมชน สมัยเปิดประชุมหน้าจะมีการเสนอเรื่องการลงทุนออม เพื่อเป็นหลักประกันในยามชรา ส่วนการประกันรายได้เกษตรกร ปีหน้าจะเริ่มมาตรการให้เกษตรกรใช้สิทธิ์ได้ไม่เกิน 2 ครั้งต่อไป ขณะที่เรื่องการทวงหนี้โหด จะประสานกับกระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และหน่วยงานอื่น เพื่อมาดูเรื่องผู้มีอิทธิพล ส่วนการเมืองยังเป็นปัญหาที่รัฐบาลต้องแก้ไข แต่จะเดินหน้าแก้ไขเศรษฐกิจสังคมเป็นหลัก โดยไม่เสียสมาธิกับปัญหาทางการเมือง