นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติของคณะกรรมการข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่กำหนดให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวอายุสั้น (ต่ำกว่า 100 วัน) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่รับรอง สามารถเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ของรัฐบาลได้ โดยได้รับอัตราค่าชดเชยเท่ากับราคาข้าวขาว แต่มีเงื่อนไขว่า อนุญาตให้เฉพาะปีการผลิตนี้เท่านั้น และเห็นชอบให้เกษตรกรที่ได้ขึ้นทะเบียนโครงการประกันรายได้ และได้รับการรับรองผ่านประชาคมมาแล้ว ที่ขายข้าวก่อนวันที่ 1 ตุลาคม สามารถใช้สิทธิ์ได้ทุกราย และสามารถใช้สิทธิ์ได้ทันที ซึ่งการที่มีการกำหนดเวลาการใช้สิทธิ์ของเกษตรกรนั้น เป็นเพียงเงื่อนไขเพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการได้ง่ายขึ้น แต่เรื่องของการจ่ายเงิน อาจต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบการเร่งรัดการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ใน 4 ประเด็นคือ ให้เกษตรกรสามารถใช้สิทธิ์ในโครงการรับประกันรายได้ทันทีหลังเข้าโครงการ รวมทั้งเร่งรัดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เร่งดำเนินโครงการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางเกษตรกร เพื่อรอการจำหน่าย พร้อมเร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอนการปฏิบัติ และกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน รวมทั้งเร่งรัดโครงการในพื้นที่ภาคใต้ให้รวดเร็วมากขึ้นด้วย เพราะขณะนี้ล่าช้าอย่างมาก
นอกจากนี้ ให้กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน เร่งทบทวนข้อมูลกับฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่เพาะปลูกที่แจ้งจดทะเบียนมากกว่าพื้นที่ที่มีอยู่จริง รวมทั้งให้เร่งรัดการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ ที่มีพื้นที่แตกต่างกันอย่างต่อเนื่องด้วย
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรียังเห็นชอบการเร่งรัดการดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกร ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ใน 4 ประเด็นคือ ให้เกษตรกรสามารถใช้สิทธิ์ในโครงการรับประกันรายได้ทันทีหลังเข้าโครงการ รวมทั้งเร่งรัดให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เร่งดำเนินโครงการรับฝากข้าวเปลือกในยุ้งฉางเกษตรกร เพื่อรอการจำหน่าย พร้อมเร่งรัดให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอนการปฏิบัติ และกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน รวมทั้งเร่งรัดโครงการในพื้นที่ภาคใต้ให้รวดเร็วมากขึ้นด้วย เพราะขณะนี้ล่าช้าอย่างมาก
นอกจากนี้ ให้กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน เร่งทบทวนข้อมูลกับฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่เพาะปลูกที่แจ้งจดทะเบียนมากกว่าพื้นที่ที่มีอยู่จริง รวมทั้งให้เร่งรัดการตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนพืชเศรษฐกิจ ที่มีพื้นที่แตกต่างกันอย่างต่อเนื่องด้วย