นายเกริกไกร จีระแพทย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยอมรับว่า รู้สึกเป็นห่วงความคืบหน้าในการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ที่ยังขาดความพร้อม แต่กลับจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดขึ้น เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงของโลก โดยเห็นว่าประเทศสมาชิกควรให้ความสำคัญกับการเรียนรู้กระบวนการในประชาคม และการศึกษาโอกาสจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน เช่น ไทยควรส่งเสริมด้านการศึกษาแก่ประชาชน โดยเฉพาะการศึกษาภาษาที่ 2 ให้มากขึ้น พร้อมเร่งสร้างความเข้มแข็งทางการเมืองในประเทศ
ขณะเดียวกัน นายเกริกเกียรติ ระบุว่า การรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนนั้นทำได้ยากกว่าการรวมกลุ่มของสหภาพยุโรป เพราะแต่ละประเทศสมาชิกยังมีปัจจัยเสี่ยง ขณะที่ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎระเบียบ การเงิน และการค้า ที่ยังล่าช้า ทำให้แต่ละประเทศนั้น ต้องเร่งแก้ไขจุดอ่อนของตัวเอง
ส่วนปัญหาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาขณะนี้ เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการรวมกลุ่มการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแน่นอน เพราะการรวมกลุ่มครั้งนี้เป็นการสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประเทศสมาชิกทั้งหมด อีกทั้งระยะเวลาในการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนเก่า ซึ่งไทยยังอยู่ในกลุ่มนี้ ยังเป็นคนละช่วงเวลากับประเทศสมาชิกใหม่ เช่น กัมพูชา ทำให้ช่วงเวลาเหล่าจะสร้างความเข้าใจ และปรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงประเทศชาติมากกว่าเรื่องส่วนตัว
นายสุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง รองเลขาธิการอาเซียน ในฐานะผู้แทนการค้าไทย กล่าวว่า หากปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา มีความรุนแรงมาก อาเซียนอาจต้องมีการสร้างอนุญาโตตุลาการ เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาระดับทวิภาคี โดยมีอาเซียนเป็นคนกลาง แต่เชื่อว่า สถานการณ์อาจไม่รุนแรงถึงจุดนั้น เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาระดับบุคคลของทั้ง 2 ประเทศ
ขณะเดียวกัน นายเกริกเกียรติ ระบุว่า การรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนนั้นทำได้ยากกว่าการรวมกลุ่มของสหภาพยุโรป เพราะแต่ละประเทศสมาชิกยังมีปัจจัยเสี่ยง ขณะที่ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎระเบียบ การเงิน และการค้า ที่ยังล่าช้า ทำให้แต่ละประเทศนั้น ต้องเร่งแก้ไขจุดอ่อนของตัวเอง
ส่วนปัญหาระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาขณะนี้ เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการรวมกลุ่มการสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างแน่นอน เพราะการรวมกลุ่มครั้งนี้เป็นการสร้างผลประโยชน์ให้แก่ประเทศสมาชิกทั้งหมด อีกทั้งระยะเวลาในการรวมกลุ่มของประเทศสมาชิกอาเซียนเก่า ซึ่งไทยยังอยู่ในกลุ่มนี้ ยังเป็นคนละช่วงเวลากับประเทศสมาชิกใหม่ เช่น กัมพูชา ทำให้ช่วงเวลาเหล่าจะสร้างความเข้าใจ และปรับแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม อยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงประเทศชาติมากกว่าเรื่องส่วนตัว
นายสุทัศน์ เศรษฐบุญสร้าง รองเลขาธิการอาเซียน ในฐานะผู้แทนการค้าไทย กล่าวว่า หากปัญหาความขัดแย้งไทย-กัมพูชา มีความรุนแรงมาก อาเซียนอาจต้องมีการสร้างอนุญาโตตุลาการ เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาระดับทวิภาคี โดยมีอาเซียนเป็นคนกลาง แต่เชื่อว่า สถานการณ์อาจไม่รุนแรงถึงจุดนั้น เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาระดับบุคคลของทั้ง 2 ประเทศ