สมาชิกรัฐสภาที่เข้าร่วมประชุม 376 เสียง ลงมติเห็นชอบตามที่รัฐบาลขอถอนเรื่องบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ออกจากวาระของรัฐสภา เพราะเหตุผลที่ไม่ต้องการให้สมาชิกรัฐสภาอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่อาจกลายเป็นประเด็นขยายผลต่อปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาให้เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ 35 เสียง ไม่เห็นด้วย และงดออกเสียง 7 เสียง รวมถึงไม่ขอลงคะแนนอีก 20 เสียง
จากนั้นที่ประชุมรัฐสภาได้พิจารณากรอบเจรจาและข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อให้ความเห็นชอบตามเงื่อนไขมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญต่อไป
จากนั้นที่ประชุมมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อวาระการพิจารณากรอบเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน ทั้งนี้ ตลอดการอภิปรายได้เกิดเหตุสับสนวุ่นวายขึ้นเมื่อนายจตุพร พรหมพันธุ์ สมาชิกรัฐสภา อภิปรายพาดพิงถึงกรณีของไทยและกัมพูชา
ขณะที่วุฒิสภา โดย พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตราเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา เตรียมนำกรณีการนำเสนอของไทม์ สื่อประเทศอังกฤษ นำเสนอข่าวจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง และกรณีการปล่อยข่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเข้าพิจารณาซักถามข้อเท็จจริงจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในวันพรุ่งนี้ เพราะเห็นว่าข้อมูลในลักษณะนี้มีผลกระทบต่อความมั่นคง
ส่วนมติยุติบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู ระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนบนอ่าวไทย ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล เสนอให้มีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 190 ต่อกรณีนี้ให้ชัดเจน เพื่อการดำเนินการที่ถูกต้อง
สอดคล้องกับความเห็นของ ส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว. ที่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและรัฐสภาที่จะดำเนินการให้เกิดความชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาหลังมีการยกเลิกเอ็มโอยูฉบับนี้
การอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาล่าสุด สมาชิกรัฐสภามีการอภิปรายในส่วนของข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจในส่วนที่ระหว่างประเทศจะมีการตกลงกัน และรัฐบาลจะต้องนำไปใช้ในที่ประชุมผู้นำเอเปก ที่จะมีขึ้นที่สิงคโปร์ในเร็วๆ นี้
จากนั้นที่ประชุมรัฐสภาได้พิจารณากรอบเจรจาและข้อตกลงระหว่างประเทศ เพื่อให้ความเห็นชอบตามเงื่อนไขมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญต่อไป
จากนั้นที่ประชุมมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็นต่อวาระการพิจารณากรอบเจรจาเรื่องเขตพื้นที่ทางทะเลที่ไทย มาเลเซีย และเวียดนาม อ้างสิทธิทับซ้อนกัน ทั้งนี้ ตลอดการอภิปรายได้เกิดเหตุสับสนวุ่นวายขึ้นเมื่อนายจตุพร พรหมพันธุ์ สมาชิกรัฐสภา อภิปรายพาดพิงถึงกรณีของไทยและกัมพูชา
ขณะที่วุฒิสภา โดย พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตราเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา เตรียมนำกรณีการนำเสนอของไทม์ สื่อประเทศอังกฤษ นำเสนอข่าวจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง และกรณีการปล่อยข่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูง ซึ่งมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทยเข้าพิจารณาซักถามข้อเท็จจริงจากนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง ในวันพรุ่งนี้ เพราะเห็นว่าข้อมูลในลักษณะนี้มีผลกระทบต่อความมั่นคง
ส่วนมติยุติบันทึกความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู ระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนบนอ่าวไทย ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2544 สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีนั้น ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล เสนอให้มีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความมาตรา 190 ต่อกรณีนี้ให้ชัดเจน เพื่อการดำเนินการที่ถูกต้อง
สอดคล้องกับความเห็นของ ส.ส.ฝ่ายค้าน และส.ว. ที่เห็นว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลและรัฐสภาที่จะดำเนินการให้เกิดความชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามมาหลังมีการยกเลิกเอ็มโอยูฉบับนี้
การอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาล่าสุด สมาชิกรัฐสภามีการอภิปรายในส่วนของข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจในส่วนที่ระหว่างประเทศจะมีการตกลงกัน และรัฐบาลจะต้องนำไปใช้ในที่ประชุมผู้นำเอเปก ที่จะมีขึ้นที่สิงคโปร์ในเร็วๆ นี้