นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาเรื่องบทบาทของรัฐบาลในการปฏิรูปการบริหารภาครัฐสื่อธรรมาภิบาล เนื่องในโอกาสการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาคมผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งเอเชีย ครั้งที่ 11 ซึ่งมีผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งเอเชียจาก 23 องค์กร ทั้ง 15 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม
โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้น ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และ 2550 ได้กำหนดให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิพลเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง และการจัดตั้งรัฐบาลที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งได้มีการตั้งองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้น เพื่อเสริมสร้างระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจให้มั่นคง และมีประสิทธิภาพ โดยสร้างระบบตรวจสอบรัฐบาล และป้องกันอำนาจที่มากเกินพอดี อันนำมาซึ่งการใช้อำนาจในทางที่ไม่เหมาะสม และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ถือเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนข้อเรียกร้องต่างๆ อย่างเป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึงชนชั้นและสถานภาพ โดยเฉพาะบทบาทของนักการเมืองที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมาตรา 279 ส่วนหลักธรรมาภิบาลที่นำไปสู่การพัฒนาของชาตินั้น ประกอบด้วยการตอบสนองเชิงนโยบาย และเชิงกระบวนการ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
สำหรับรัฐบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตรวจการแผ่นดินใน 3 ลักษณะ คือ สนับสนุนทางการเงินในการปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากเงื่อนไข การช่วยเหลือปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคทางด้านกฎหมาย และการชดเชยสิ่งเสียหายที่ถูกรายงานโดยผู้ตรวจการแผ่นดินทุกๆ ปี
อย่างไรก็ตาม ในฐานะของรัฐบาลไทย มุ่งหวังที่จะเห็นพันธกิจของผู้ตรวจการแผ่นดินตื่นตัวมากยิ่งขึ้น ในการแสวงหาความเป็นธรรม และส่งเสริมธรรมาภิบาล ในการป้องกันการกระทำมิชอบและไม่เป็นธรรม
โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทยนั้น ให้ความสำคัญกับหลักธรรมาภิบาล โดยรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 และ 2550 ได้กำหนดให้ประชาชนเป็นศูนย์กลางของการส่งเสริมและพิทักษ์สิทธิพลเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแท้จริง และการจัดตั้งรัฐบาลที่โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ซึ่งได้มีการตั้งองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญขึ้น เพื่อเสริมสร้างระบบตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจให้มั่นคง และมีประสิทธิภาพ โดยสร้างระบบตรวจสอบรัฐบาล และป้องกันอำนาจที่มากเกินพอดี อันนำมาซึ่งการใช้อำนาจในทางที่ไม่เหมาะสม และสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินก็ถือเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนข้อเรียกร้องต่างๆ อย่างเป็นธรรม โดยไม่คำนึงถึงชนชั้นและสถานภาพ โดยเฉพาะบทบาทของนักการเมืองที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมมาตรา 279 ส่วนหลักธรรมาภิบาลที่นำไปสู่การพัฒนาของชาตินั้น ประกอบด้วยการตอบสนองเชิงนโยบาย และเชิงกระบวนการ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วม การทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
สำหรับรัฐบาลมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ตรวจการแผ่นดินใน 3 ลักษณะ คือ สนับสนุนทางการเงินในการปฏิบัติภารกิจโดยปราศจากเงื่อนไข การช่วยเหลือปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคทางด้านกฎหมาย และการชดเชยสิ่งเสียหายที่ถูกรายงานโดยผู้ตรวจการแผ่นดินทุกๆ ปี
อย่างไรก็ตาม ในฐานะของรัฐบาลไทย มุ่งหวังที่จะเห็นพันธกิจของผู้ตรวจการแผ่นดินตื่นตัวมากยิ่งขึ้น ในการแสวงหาความเป็นธรรม และส่งเสริมธรรมาภิบาล ในการป้องกันการกระทำมิชอบและไม่เป็นธรรม