การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยผลการดำเนินงานในปี 2551 พบว่าเป็นปีที่ประสบกับภาวะขาดทุนสุทธิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีตัวเลขขาดทุนสุทธิ อยู่ที่ 10,202 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ที่ขาดทุนสุทธิ อยู่ที่ 7,864 ล้านบาท ขณะที่ยอดขาดทุนสะสมของ รฟท. ปัจจุบันอยู่ที่ 47,600 ล้านบาท ทั้งนี้ รฟท.มีรายได้รวมทั้งหมดในปี 2551 อยู่ที่ 8,650 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการเก็บค่าโดยสาร เฉลี่ยปีละประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2551 รฟท.สามารถจัดเก็บรายได้จากค่าโดยสารได้อยู่ที่ประมาณ 4,198 ล้านบาท รายได้จากการขนส่งสินค้า 2,392 ล้านบาท รวมถึงรายได้จากการบริหารทรัพย์สินอื่นๆ คือที่ดิน ประมาณ 2,060 ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายโดยรวม มีทั้งสิ้น 11,649 ล้านบาท ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคล โดยแบ่งเป็นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงพนักงาน จำนวน 5,546 ล้านบาท จ่ายให้กับพนักงาน รฟท. ทั้งหมด 12,420 คน ส่วนค่าวัสดุอื่นๆ และค่าซ่อมบำรุง อยู่ที่ 2,898 ล้านบาท ค่าเชื้อเพลิง 3,205 ล้านบาท นอกจากนี้มีรายจ่ายบำเหน็จบำนาญ จำนวน 25,749 คน เป็นเงินอีก 2,777 ล้านบาทต่อปี โดยคิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 156,000 ล้านบาท
การบริหารการเดินรถไฟ พบว่าปัจจุบันมีขบวนรถไฟที่ให้บริการทั่วประเทศ จำนวน 256 ขบวนต่อวัน แบ่งเป็นรถขนส่งสินค้า วันละ 84 ขบวน ขณะที่หัวรถจักรที่ใช้งานได้จริง 137 คัน ความต้องการใช้จริงๆ แล้วควรมีถึง 209 คันต่อวัน ปัจจุบัน รฟท.จำเป็นจะต้องสลับหัวรถจักรหมุนเวียนทำขบวนให้เพียงพอต่อความต้องการ
หากดูตัวเลขผู้โดยสารที่ใช้บริการของ รฟท.ทั้งหมด ในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้โดยสารใช้บริการ จำนวน 41.23 ล้านคน โดยเป็นการใช้บริการรถไฟสายเหนือ 9.5 ล้านคน สายอีสาน 11.65 ล้านคน สายใต้ 12.04 ล้านคน สายตะวันออก 5.21 ล้านคน และสายแม่กลอง 2.8 ล้านคน คิดเป็นรายรับจากค่าโดยสารในแต่ละเส้นทาง พบว่า รฟท.มีรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสาร 3,750 ล้านบาท โดยเป็นค่าโดยสารในเส้นทางสายเหนือ จำนวน 901 ล้านบาท สายอีสาน 1,107 ล้านบาท สายใต้ 1,673 ล้านบาท สายตะวันออก 50 ล้านบาท สายแม่กลอง 16.8 ล้านบาท
จากตัวเลขดังกล่าวพบสัดส่วนการใช้บริการรถไฟเส้นทางสายใต้ เป็นเส้นทางที่ทำรายได้ให้ รฟท.มากกว่าเส้นทางอื่นๆ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการมากที่สุด แต่จากรายงาน รฟท.ระบุว่า เหตุเรียกร้องของสหภาพฯ การรถไฟที่ผ่านมา ในแต่ละครั้งทำให้ รฟท.เสียหายไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
ขณะที่ค่าใช้จ่ายโดยรวม มีทั้งสิ้น 11,649 ล้านบาท ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับบุคคล โดยแบ่งเป็นเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงพนักงาน จำนวน 5,546 ล้านบาท จ่ายให้กับพนักงาน รฟท. ทั้งหมด 12,420 คน ส่วนค่าวัสดุอื่นๆ และค่าซ่อมบำรุง อยู่ที่ 2,898 ล้านบาท ค่าเชื้อเพลิง 3,205 ล้านบาท นอกจากนี้มีรายจ่ายบำเหน็จบำนาญ จำนวน 25,749 คน เป็นเงินอีก 2,777 ล้านบาทต่อปี โดยคิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้น 156,000 ล้านบาท
การบริหารการเดินรถไฟ พบว่าปัจจุบันมีขบวนรถไฟที่ให้บริการทั่วประเทศ จำนวน 256 ขบวนต่อวัน แบ่งเป็นรถขนส่งสินค้า วันละ 84 ขบวน ขณะที่หัวรถจักรที่ใช้งานได้จริง 137 คัน ความต้องการใช้จริงๆ แล้วควรมีถึง 209 คันต่อวัน ปัจจุบัน รฟท.จำเป็นจะต้องสลับหัวรถจักรหมุนเวียนทำขบวนให้เพียงพอต่อความต้องการ
หากดูตัวเลขผู้โดยสารที่ใช้บริการของ รฟท.ทั้งหมด ในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้โดยสารใช้บริการ จำนวน 41.23 ล้านคน โดยเป็นการใช้บริการรถไฟสายเหนือ 9.5 ล้านคน สายอีสาน 11.65 ล้านคน สายใต้ 12.04 ล้านคน สายตะวันออก 5.21 ล้านคน และสายแม่กลอง 2.8 ล้านคน คิดเป็นรายรับจากค่าโดยสารในแต่ละเส้นทาง พบว่า รฟท.มีรายได้จากการจัดเก็บค่าโดยสาร 3,750 ล้านบาท โดยเป็นค่าโดยสารในเส้นทางสายเหนือ จำนวน 901 ล้านบาท สายอีสาน 1,107 ล้านบาท สายใต้ 1,673 ล้านบาท สายตะวันออก 50 ล้านบาท สายแม่กลอง 16.8 ล้านบาท
จากตัวเลขดังกล่าวพบสัดส่วนการใช้บริการรถไฟเส้นทางสายใต้ เป็นเส้นทางที่ทำรายได้ให้ รฟท.มากกว่าเส้นทางอื่นๆ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการมากที่สุด แต่จากรายงาน รฟท.ระบุว่า เหตุเรียกร้องของสหภาพฯ การรถไฟที่ผ่านมา ในแต่ละครั้งทำให้ รฟท.เสียหายไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท