ก่อนพิธีปิดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน และการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ได้มีการลงนามในเอกสารความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน หลังจากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ส่งมอบการทำหน้าที่ประธานการจัดงานครั้งต่อไปให้กับ นายเหวียน เติ๋น ยวุ๋ง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ซึ่งจะมีขึ้นในเดือนเมษายนปีหน้า ที่กรุงฮานอย
ที่ผ่านมาเวทีอาเซียนสามารถตกลงด้านการค้า เศรษฐกิจ ได้ค่อนข้างราบรื่น แต่ครั้งนี้สามารถลงนามความตกลงด้านการค้าระหว่างประเทศได้เพียง 1 ฉบับ นั่นคือ บันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรอง
ขณะที่ความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถลงนามกันได้ เนื่องจากยังไม่ผ่านความเป็นชอบจากรัฐสภา ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 นอกจากนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปสำหรับกำแพงภาษีสินค้า ตามกรอบความตกลงการค้าเสรี โดยเฉพาะกรณีการกำหนดภาษีนำเข้าข้าวระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ ขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการ ขาด 4 ประเทศจัดทำข้อผูกพัน ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ด้านภาคการลงทุนนั้นยังขาด 6 ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบัน และ 4 ประเทศส่งตารางข้อสงวน โดยสาเหตุหลักที่ไม่สามารถเจรจาหาข้อสรุปความตกลงต่างๆ นั้น มาจากรายละเอียดแต่ละความตกลงยังมีความอ่อนไหวต่ออุตสาหกรรมในประเทศนั้นๆ
ท่ามกลางปัญหาดังกล่าวในการแถลงข่าวหลังพิธีปิด ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีของไทยกับนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เป็นผู้ตอบคำถาม มีความสนใจเป็นอย่างมากถึงการดำเนินการต่อจากนี้จากข้อเสนอการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประชาคมเอเชียแปซิฟิก ของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ซึ่งอาเซียนระบุว่า เปิดกว้างต่อความคิด และเห็นว่าควรจะพัฒนาจากกรอบความร่วมมือที่มีอยู่
ส่วนปัญหาเรื่องการหารือในภาคประชาสังคมกับผู้นำอาเซียน ซึ่งมีปัญหาไปก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่า ถือเป็นครั้งแรกในการริเริ่มเรื่องดังกล่าว และหวังว่าจะเป็นตัวอย่างในการจะจัดเวทีลักษณะนี้ในการประชุมครั้งต่อๆ ไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการประชุม ไม่ว่าจะเป็นการตกลงข้อตกลงที่ไม่สามารถตกลงกันได้นั้น ถือว่าเป็นความท้าทายในการจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 แน่นอนว่า บรรดาผู้นำอาเซียนจะต้องนำปัญหาที่เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้กลับไปศึกษาหารือเพื่อกลับมาหารือกันใหม่ เพื่อความก้าวหน้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงฮานอย ในเดือนเมษายนปีหน้า
ที่ผ่านมาเวทีอาเซียนสามารถตกลงด้านการค้า เศรษฐกิจ ได้ค่อนข้างราบรื่น แต่ครั้งนี้สามารถลงนามความตกลงด้านการค้าระหว่างประเทศได้เพียง 1 ฉบับ นั่นคือ บันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาคมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านมาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค และการตรวจสอบและรับรอง
ขณะที่ความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถลงนามกันได้ เนื่องจากยังไม่ผ่านความเป็นชอบจากรัฐสภา ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 นอกจากนั้นยังไม่ได้ข้อสรุปสำหรับกำแพงภาษีสินค้า ตามกรอบความตกลงการค้าเสรี โดยเฉพาะกรณีการกำหนดภาษีนำเข้าข้าวระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ ขณะที่การเปิดเสรีภาคบริการ ขาด 4 ประเทศจัดทำข้อผูกพัน ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ด้านภาคการลงทุนนั้นยังขาด 6 ประเทศที่ยังไม่ให้สัตยาบัน และ 4 ประเทศส่งตารางข้อสงวน โดยสาเหตุหลักที่ไม่สามารถเจรจาหาข้อสรุปความตกลงต่างๆ นั้น มาจากรายละเอียดแต่ละความตกลงยังมีความอ่อนไหวต่ออุตสาหกรรมในประเทศนั้นๆ
ท่ามกลางปัญหาดังกล่าวในการแถลงข่าวหลังพิธีปิด ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีของไทยกับนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน เป็นผู้ตอบคำถาม มีความสนใจเป็นอย่างมากถึงการดำเนินการต่อจากนี้จากข้อเสนอการจัดตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประชาคมเอเชียแปซิฟิก ของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ซึ่งอาเซียนระบุว่า เปิดกว้างต่อความคิด และเห็นว่าควรจะพัฒนาจากกรอบความร่วมมือที่มีอยู่
ส่วนปัญหาเรื่องการหารือในภาคประชาสังคมกับผู้นำอาเซียน ซึ่งมีปัญหาไปก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่า ถือเป็นครั้งแรกในการริเริ่มเรื่องดังกล่าว และหวังว่าจะเป็นตัวอย่างในการจะจัดเวทีลักษณะนี้ในการประชุมครั้งต่อๆ ไป
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการประชุม ไม่ว่าจะเป็นการตกลงข้อตกลงที่ไม่สามารถตกลงกันได้นั้น ถือว่าเป็นความท้าทายในการจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ในปี 2558 แน่นอนว่า บรรดาผู้นำอาเซียนจะต้องนำปัญหาที่เกิดขึ้นในการประชุมครั้งนี้กลับไปศึกษาหารือเพื่อกลับมาหารือกันใหม่ เพื่อความก้าวหน้าเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงฮานอย ในเดือนเมษายนปีหน้า