การประชุมสุดยอดอาเซียนเริ่มอย่างเป็นทางการเมือง พิธีเปิดเรียบง่าย ขณะที่ผู้นำ 5 ประเทศส่งตัวแทนร่วมเลยงดถ่ายภาพหมู่ "อภิสิทธิ์" ยันไทยพร้อมหนุนสร้างประชาคมอาเซียนให้สำเร็จในปี 53 หวังประโยชน์จะตกแก่ประชาชนทุกประเทศ "มาร์ค" ใจถึงขอนายกฯพม่ารายงานพัฒนาการทางการเมือง ให้ผู้นำอาเซียนทราบในวันนี้ ยืนยันจะไปเยือนเป็นประเทศแรก และจะขอพบอองซาน ซูจี
ผู้สื่อข่าวรายงานจากโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน เมื่อเวลา 09.45 น. วานนี้ (23 ต.ค.) ที่ห้องดุสิตแกรนด์บอลล์รูม โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค. 2552 อย่างเป็นทางการแล้วอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีประเทศไทยเป็นประธาน ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ในฐานะประธานอาเซียน กล่าวตอนหนึ่งในการ กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ "เชื่อมโยงประชาคมสร้างเสริมประชาชน" ระหว่างเปิดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 อย่างเป็นทางการ ว่า ถึงการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ว่า เป็นความพยายามที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับอาเซียน แต่ภารกิจนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบให้ได้ ในปี 2553 โดยเน้นใน 3 ด้านหลัก คือ เป็นประชาคมแห่งการปฏิบัติ เป็นประชาคมแห่งการเชื่อมโยง และเป็นประชาคมของประชาชน
4 ผู้นำไม่ร่วมพิธีเปิดยกเลิกถ่ายภาพหมู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ ผู้นำประเทศนอกจากนายอภิสิทธิ์ แล้ว ยังมี นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี พลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นายเหวียน เติน สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนเข้าร่วม
ส่วนผู้นำอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีของอินโดนีเซียติดภารกิจเข้ารับสาบานตนในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ติดภารกิจให้การต้อนรับประธานาธิบดี เกาหลีใต้เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ติดภารกิจร่วมประชุมสภาเพื่อพิจารณางบประมาณ และนางกลอเรีย มาคาปากัลป์ อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ติดภารกิจลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยและขอรอดูสถานการณ์พายุไซโคลนรูบิทเคลื่อนออกจากเกาะรูซอล และสมเด็จพระราชาธิบดีฮัญจี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ประมุขและนายกรัฐมนตรีบรูไน โดยผู้นำ 5 ประเทศได้ให้ตัวแทนร่วมพิธีเปิดแทน และจะเดินทางมาร่วมประชุมภายหลัง ทำให้การประชุมหนนี้ ไม่มีการถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเช่นการประชุมที่ผ่านมาเนื่องจากการเปิดประชุมครั้งนี้ มีผู้นำจาก 5 ชาติเท่านั้น ส่วนผู้นำจากอีก 4 ชาติจะทยอยมาถึงประเทศไทยในช่วงบ่ายถึงค่ำ
สนใจตั้งประชาคมเอเซียตะวันออก
ส่วนแนวความคิดของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่จะสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกนั้น นายกรัฐมนตรีได้แสดงความสนใจข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดยเห็นว่าอาเซียนมีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว เพราะแต่ละประเทศมีความร่วมมือ อย่างใกล้ชิดทั้งการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและความร่วมมือเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
สำหรับเรื่องคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน มีความสำเร็จการรับรองปฏิญญาชะอำหัวหิน ในการสถาปนาคณะกรรมาธิการอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนและสร้างพลวัตรให้เติบโตได้ต่อไป
นายกรัฐมนตรียังได้เผยว่าจะได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ ระหว่างการประชุมเอเปก ในเดือนพฤศจิกายน ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสอดรับกับการแสดงท่าทีของสหรัฐ ที่ต้องการมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ทั้งในด้านมิติเศรษฐกิจและในด้านอื่นๆ โดยที่ประชุมจะได้มีการทบทวบแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหรัฐ ฯ ที่ได้เคยทำมาและหาลู่ทางขยายความร่วมมือต่อไป
ขอพม่าแจงพัฒนาการต่ออาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการหารือทวิภาคีระหว่าง นายอภิสิทธิ์ กับพลเอก เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านกับพม่าและประธานอาเซียน ได้บอกกับทุกประเทศว่าควร engage (ปฏิสัมพันธ์อันดี) กับพม่า และยินดีที่หลายประเทศจะมีปฏิสัมพันธ์กับพม่ามากยิ่งขึ้น
นายอภิสิทธ์ ย้ำว่าได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เพื่อสนับสนุนพม่า และหวังว่า มิตรของอาเซียนต่าง ประสงค์ที่จะทราบถึงพัฒนาการในพม่า จึงขอเสนอให้พม่า รายงานพัฒนาการในประเทศระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในวันนี้ (24 ต.ค.) ทั้งนี้การดำเนินการตาม Roadmap เป็นเรื่องสำคัญ จึงหวังว่า การเลือกตั้งในพม่าในปีหน้าจะประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งหวังว่าจะเยือนพม่า อย่างเป็นทางการในโอกาสแรก และประสงค์ขอพบกับนางออง ซานซูจี ระหว่างการเยือน เพื่อสนับสนุนกระบวนการทั้งหมดในสายตาของประชาคมโลก และหวังว่าพม่าจะเข้าใจจากมุมมองเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกัน
ด้านพลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า กล่าวว่าในปี 2010 นับว่าเป็นปีที่มีความสำคัญต่อพม่า เนื่องจากจะมี การจัดการเลือกตั้ง และจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ พรรคการเมืองต่างๆ จะมีสิทธิที่จะร่วมในการเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งจะเป็นไปในลักษณะ Free and Fair
ผู้สื่อข่าวรายงานจากโรงแรมดุสิตธานี หัวหิน เมื่อเวลา 09.45 น. วานนี้ (23 ต.ค.) ที่ห้องดุสิตแกรนด์บอลล์รูม โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี มีในพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 ต.ค. 2552 อย่างเป็นทางการแล้วอย่างเป็นทางการ ซึ่งมีประเทศไทยเป็นประธาน ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ในฐานะประธานอาเซียน กล่าวตอนหนึ่งในการ กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ "เชื่อมโยงประชาคมสร้างเสริมประชาชน" ระหว่างเปิดประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 15 อย่างเป็นทางการ ว่า ถึงการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ว่า เป็นความพยายามที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับอาเซียน แต่ภารกิจนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศ และทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ คือ การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบให้ได้ ในปี 2553 โดยเน้นใน 3 ด้านหลัก คือ เป็นประชาคมแห่งการปฏิบัติ เป็นประชาคมแห่งการเชื่อมโยง และเป็นประชาคมของประชาชน
4 ผู้นำไม่ร่วมพิธีเปิดยกเลิกถ่ายภาพหมู่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพิธีเปิดการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งนี้ ผู้นำประเทศนอกจากนายอภิสิทธิ์ แล้ว ยังมี นายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรี พลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นายเหวียน เติน สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม และนายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนเข้าร่วม
ส่วนผู้นำอีก 5 ประเทศ ได้แก่ ดร.ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ประธานาธิบดีของอินโดนีเซียติดภารกิจเข้ารับสาบานตนในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ติดภารกิจให้การต้อนรับประธานาธิบดี เกาหลีใต้เยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ติดภารกิจร่วมประชุมสภาเพื่อพิจารณางบประมาณ และนางกลอเรีย มาคาปากัลป์ อาร์โรโย ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ติดภารกิจลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยและขอรอดูสถานการณ์พายุไซโคลนรูบิทเคลื่อนออกจากเกาะรูซอล และสมเด็จพระราชาธิบดีฮัญจี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ ประมุขและนายกรัฐมนตรีบรูไน โดยผู้นำ 5 ประเทศได้ให้ตัวแทนร่วมพิธีเปิดแทน และจะเดินทางมาร่วมประชุมภายหลัง ทำให้การประชุมหนนี้ ไม่มีการถ่ายภาพหมู่ร่วมกันเช่นการประชุมที่ผ่านมาเนื่องจากการเปิดประชุมครั้งนี้ มีผู้นำจาก 5 ชาติเท่านั้น ส่วนผู้นำจากอีก 4 ชาติจะทยอยมาถึงประเทศไทยในช่วงบ่ายถึงค่ำ
สนใจตั้งประชาคมเอเซียตะวันออก
ส่วนแนวความคิดของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่จะสร้างประชาคมเอเชียตะวันออกนั้น นายกรัฐมนตรีได้แสดงความสนใจข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น โดยเห็นว่าอาเซียนมีพื้นฐานที่ดีอยู่แล้ว เพราะแต่ละประเทศมีความร่วมมือ อย่างใกล้ชิดทั้งการเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดและความร่วมมือเขตการค้าเสรีระหว่างกัน
สำหรับเรื่องคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนอาเซียน มีความสำเร็จการรับรองปฏิญญาชะอำหัวหิน ในการสถาปนาคณะกรรมาธิการอาเซียน ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชนและสร้างพลวัตรให้เติบโตได้ต่อไป
นายกรัฐมนตรียังได้เผยว่าจะได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ ระหว่างการประชุมเอเปก ในเดือนพฤศจิกายน ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสอดรับกับการแสดงท่าทีของสหรัฐ ที่ต้องการมีบทบาทมากขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ทั้งในด้านมิติเศรษฐกิจและในด้านอื่นๆ โดยที่ประชุมจะได้มีการทบทวบแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียน-สหรัฐ ฯ ที่ได้เคยทำมาและหาลู่ทางขยายความร่วมมือต่อไป
ขอพม่าแจงพัฒนาการต่ออาเซียน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการหารือทวิภาคีระหว่าง นายอภิสิทธิ์ กับพลเอก เต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านกับพม่าและประธานอาเซียน ได้บอกกับทุกประเทศว่าควร engage (ปฏิสัมพันธ์อันดี) กับพม่า และยินดีที่หลายประเทศจะมีปฏิสัมพันธ์กับพม่ามากยิ่งขึ้น
นายอภิสิทธ์ ย้ำว่าได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เพื่อสนับสนุนพม่า และหวังว่า มิตรของอาเซียนต่าง ประสงค์ที่จะทราบถึงพัฒนาการในพม่า จึงขอเสนอให้พม่า รายงานพัฒนาการในประเทศระหว่างการประชุมผู้นำอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในวันนี้ (24 ต.ค.) ทั้งนี้การดำเนินการตาม Roadmap เป็นเรื่องสำคัญ จึงหวังว่า การเลือกตั้งในพม่าในปีหน้าจะประสบความสำเร็จ พร้อมทั้งหวังว่าจะเยือนพม่า อย่างเป็นทางการในโอกาสแรก และประสงค์ขอพบกับนางออง ซานซูจี ระหว่างการเยือน เพื่อสนับสนุนกระบวนการทั้งหมดในสายตาของประชาคมโลก และหวังว่าพม่าจะเข้าใจจากมุมมองเพื่อนบ้านที่ดีระหว่างกัน
ด้านพลเอกเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีพม่า กล่าวว่าในปี 2010 นับว่าเป็นปีที่มีความสำคัญต่อพม่า เนื่องจากจะมี การจัดการเลือกตั้ง และจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งในเร็วๆ นี้ พรรคการเมืองต่างๆ จะมีสิทธิที่จะร่วมในการเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งจะเป็นไปในลักษณะ Free and Fair