นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 11 - 13 ตุลาคมนี้ จะเดินทางเยือนสหภาพเมียนมาร์ พร้อมหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจากจังหวัดที่มีชายแดนติดพม่า เพื่อเข้าพบและหารือผู้แทนภาคราชการระดับสูงของพม่า ซึ่งจะมีการเจรจาความร่วมมือด้านเส้นทางขนส่งสินค้าชายแดน การจัดประชุมคณะกรรมการการค้าร่วมไทย-พม่า (เจทีซี) ครั้งที่ 5 การยกเลิกประกาศห้ามการนำเข้า-ส่งออกสินค้า 92 รายการ พิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออก
สำหรับการเชื่อมเส้นทางคมนาคมเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกสู่ตะวันตกให้รองรับสินค้าผ่านจากจีนตอนใต้ออกไปสู่ตลาดตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหารือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปปรับปรุงเส้นทางขนส่ง 3 สาย ได้แก่ การสร้างถนนเชื่อมระหว่างกาญจนบุรี - ทวาย แม่สอด จังหวัดตาก-เมียวดี-กอกาเรก-มะละแหม่ง และสิงขร - มะริด ซึ่งทุกสายจะเชื่อมต่อจีนมาเข้าไทยและไปพม่า ทำให้ไทยเป็นประตูการค้าของภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะเส้นทางกาญจนบุรี - ทวาย ซึ่งเป็นเส้นทางที่ไปสู่ท่าเรือน้ำลึกทวาย มีระยะทาง 130 กิโลเมตร จะส่งผลต่อการค้าการลงทุนภายในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้เติบโตมากขึ้น โดยในปี 2551 มีการค้าระหว่าง 2 ประเทศกว่า 156,000 ล้านบาท ซึ่งกว่าร้อยละ 92 เป็นมูลค่าทางการค้าชายแดน 143,686 ล้านบาท โดยมูลค่าการค้าไทย-พม่า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.2 ของการค้าชายแดนในภาพรวมของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ จะหารือความร่วมมือด้านพลังงานและไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าภูมิภาค (กฟภ.) มีแผนงานที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจระบบไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความต้องการการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าอีกมาก และมีความสนใจที่จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จากประเทศไทย
สำหรับการเชื่อมเส้นทางคมนาคมเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกสู่ตะวันตกให้รองรับสินค้าผ่านจากจีนตอนใต้ออกไปสู่ตลาดตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปได้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหารือ เพื่อให้ได้ข้อสรุปปรับปรุงเส้นทางขนส่ง 3 สาย ได้แก่ การสร้างถนนเชื่อมระหว่างกาญจนบุรี - ทวาย แม่สอด จังหวัดตาก-เมียวดี-กอกาเรก-มะละแหม่ง และสิงขร - มะริด ซึ่งทุกสายจะเชื่อมต่อจีนมาเข้าไทยและไปพม่า ทำให้ไทยเป็นประตูการค้าของภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะเส้นทางกาญจนบุรี - ทวาย ซึ่งเป็นเส้นทางที่ไปสู่ท่าเรือน้ำลึกทวาย มีระยะทาง 130 กิโลเมตร จะส่งผลต่อการค้าการลงทุนภายในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงให้เติบโตมากขึ้น โดยในปี 2551 มีการค้าระหว่าง 2 ประเทศกว่า 156,000 ล้านบาท ซึ่งกว่าร้อยละ 92 เป็นมูลค่าทางการค้าชายแดน 143,686 ล้านบาท โดยมูลค่าการค้าไทย-พม่า คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.2 ของการค้าชายแดนในภาพรวมของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ จะหารือความร่วมมือด้านพลังงานและไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าภูมิภาค (กฟภ.) มีแผนงานที่จะขยายการลงทุนในธุรกิจระบบไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีความต้องการการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าอีกมาก และมีความสนใจที่จะรับถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้จากประเทศไทย