นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในการลงนามร่วมกันระหว่างผู้บริหารธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย อธิบดีกรมการขนส่งทางบก ผู้อำนวยการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ( ขสมก.) เพื่อร่วมมือในโครงการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์เพื่อสร้างอาชีพใหม่ให้กับผู้ประกอบการมินิบัสที่เปลี่ยนมาใช้เอ็นจีวีวงเงิน 1,500 ล้านบาท
นายสุเทพ สืบสันติวงศ์ ประธานอนุกรรมการบริหาร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปล่อยกู้ของธนาคารได้กำหนดวงเงินวางดาวน์ร้อยละ 20 ของราคารถที่มีราคาประมาณ 3-4 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 6 ปี คิดอัตรากำไร (ดอกเบี้ยเงินกู้) ร้อยละ 5.5-7.5 ต่อปี ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใด มีผลประกอบการ ประสบการณ์ที่ดี ธนาคารจะมีเงื่อนไขพิเศษในการปล่อยกู้ให้ โดยยอมรับว่า หากผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจะคุ้มค่าในระยะยาว เพราะรถโดยสารปัจจุบัน ต้องจ่ายค่าน้ำมัน 3-4 บาทต่อกิโลเมตร แต่หันมาใช้เอ็นจีวี จะเสียค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงกิโลเมตรละ 1 บาท หากผู้ประกอบการมินิบัสต้องการสินเชื่อเพิ่ม ธนาคารก็พร้อมเพิ่มวงเงินสินเชื่อ
ด้านนายหลิน เข่อนั่ว ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบสท์รินกรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตนำเข้าและจำหน่ายรถบัสโดยสาร เชื้อเพลิงเอ็นจีวี ยี่ห้อ "โกลด์เด้นดรากอน" ประเทศจีน เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการรายย่อยที่ขับรถมินิบัสต้องการแหล่งเงินกู้ในการจัดหารถใหม่แทนมินิบัสคันเดิม ทำให้มีรถมินิบัสเชื้อเพลิงสะอาดวิ่งให้บริการในกรุงเทพฯ มากขึ้น หากผู้ประกอบการเปลี่ยนมาเป็นรถแอร์เอ็นจีวีแล้ว จัดเก็บค่าโดยสารประมาณ 6.50 บาทตลอดสาย ควรจะเพิ่ม 1-2 บาท นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการจะได้นั่งมินิบัสปรับอากาศที่มีความสะดวกสบาย มีคุณภาพได้มาตรฐาน
นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกล่าวว่า ขณะนี้รถเมล์มินิบัสเขียวเดิม รุ่นเก่า ส่วนใหญ่จะครบกำหนดบริการ 16 สิงหาคม 2552 แต่ได้มีการขยายเวลา เพื่อให้เอกชนจัดซื้อรถใหม่ ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน ต่อไปไม่เห็นรถมินิบัสเขียววิ่งเร็ว ๆ จะหมดไป เพราะจะมีรถใหม่เป็นรถเมล์ปรับอากาศขนาดเล็กของเอกชนเข้ามาวิ่งแทน ส่วนจะปรับขึ้นราคาหรือไม่ เนื่องจากผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนสูงขึ้นจากการซื้อรถ ต้องคำนวณหลายปัจจัยร่วมกัน แต่ราคาเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนจากดีเซลมาเป็นเอ็นจีวี จะทำให้ค่าเชื้อเพลิงถูกลง ดังนั้นหากปรับขึ้นก็ไม่ควร 7 บาท จากค่าโดยสาร 6.50 บาท ตลอดสาย
นายสุเทพ สืบสันติวงศ์ ประธานอนุกรรมการบริหาร ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปล่อยกู้ของธนาคารได้กำหนดวงเงินวางดาวน์ร้อยละ 20 ของราคารถที่มีราคาประมาณ 3-4 ล้านบาท ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 6 ปี คิดอัตรากำไร (ดอกเบี้ยเงินกู้) ร้อยละ 5.5-7.5 ต่อปี ซึ่งหากผู้ประกอบการรายใด มีผลประกอบการ ประสบการณ์ที่ดี ธนาคารจะมีเงื่อนไขพิเศษในการปล่อยกู้ให้ โดยยอมรับว่า หากผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจะคุ้มค่าในระยะยาว เพราะรถโดยสารปัจจุบัน ต้องจ่ายค่าน้ำมัน 3-4 บาทต่อกิโลเมตร แต่หันมาใช้เอ็นจีวี จะเสียค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงกิโลเมตรละ 1 บาท หากผู้ประกอบการมินิบัสต้องการสินเชื่อเพิ่ม ธนาคารก็พร้อมเพิ่มวงเงินสินเชื่อ
ด้านนายหลิน เข่อนั่ว ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบสท์รินกรุ๊ป จำกัด ผู้ผลิตนำเข้าและจำหน่ายรถบัสโดยสาร เชื้อเพลิงเอ็นจีวี ยี่ห้อ "โกลด์เด้นดรากอน" ประเทศจีน เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการรายย่อยที่ขับรถมินิบัสต้องการแหล่งเงินกู้ในการจัดหารถใหม่แทนมินิบัสคันเดิม ทำให้มีรถมินิบัสเชื้อเพลิงสะอาดวิ่งให้บริการในกรุงเทพฯ มากขึ้น หากผู้ประกอบการเปลี่ยนมาเป็นรถแอร์เอ็นจีวีแล้ว จัดเก็บค่าโดยสารประมาณ 6.50 บาทตลอดสาย ควรจะเพิ่ม 1-2 บาท นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการจะได้นั่งมินิบัสปรับอากาศที่มีความสะดวกสบาย มีคุณภาพได้มาตรฐาน
นายชัยรัตน์ สงวนชื่อ อธิบดีกรมการขนส่งทางบกกล่าวว่า ขณะนี้รถเมล์มินิบัสเขียวเดิม รุ่นเก่า ส่วนใหญ่จะครบกำหนดบริการ 16 สิงหาคม 2552 แต่ได้มีการขยายเวลา เพื่อให้เอกชนจัดซื้อรถใหม่ ในเวลาไม่เกิน 6 เดือน ต่อไปไม่เห็นรถมินิบัสเขียววิ่งเร็ว ๆ จะหมดไป เพราะจะมีรถใหม่เป็นรถเมล์ปรับอากาศขนาดเล็กของเอกชนเข้ามาวิ่งแทน ส่วนจะปรับขึ้นราคาหรือไม่ เนื่องจากผู้ประกอบการมีภาระต้นทุนสูงขึ้นจากการซื้อรถ ต้องคำนวณหลายปัจจัยร่วมกัน แต่ราคาเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนจากดีเซลมาเป็นเอ็นจีวี จะทำให้ค่าเชื้อเพลิงถูกลง ดังนั้นหากปรับขึ้นก็ไม่ควร 7 บาท จากค่าโดยสาร 6.50 บาท ตลอดสาย