นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างโรคเบาหวานกับงานปริทันต์ จัดโดยสมาคมปริทันต์แห่งประเทศไทยร่วมกับภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้ทันตแพทย์ แพทย์ ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะผู้เป็นโรคเบาหวาน โรคปริทันต์ ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ นำไปพัฒนาส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชาชนต่อไป
นายมานิต กล่าวว่า ประชากรทั่วโลกมีภาวะเบาหวานมากกว่า 230 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 6 ของประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลก ส่วนไทยคาดว่ามีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 2-3 ล้านคน และจากข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ในปี 2551 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 388,551 ราย เสียชีวิต 7,725 ราย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กทม. 538 ราย รองลงมาคือ ขอนแก่น 533 ราย อุบลราชธานี 427 ราย อุดรธานี 375 ราย กาฬสินธุ์ 318 ราย
นายมานิต กล่าวต่อว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด สาเหตุกว่าร้อยละ 80 เกิดจากพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายน้อยลง ที่เหลือเกิดมาจากพันธุกรรม ในปี 2553 มีนโยบายให้ทุกจังหวัดตรวจคัดกรองโรค เบาหวาน โดยให้สถานีอนามัยทั่วประเทศร่วมกับ อสม. ออกคัดกรองผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปทุกหมู่บ้านให้ได้ร้อยละ 75 ถ้าพบกลุ่มเสี่ยงจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น ลดกินหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ เพิ่มการออกกำลังกายให้ได้วันละอย่างน้อย 30 นาที ลดรอบเอวให้น้อยกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย 80 เซนติเมตร ในผู้หญิง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการป่วยเป็นเบาหวานและลดอัตราการเสียชีวิตได้
นายมานิต กล่าวว่า ประชากรทั่วโลกมีภาวะเบาหวานมากกว่า 230 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 6 ของประชากรผู้ใหญ่ทั่วโลก ส่วนไทยคาดว่ามีผู้ป่วยเบาหวานประมาณ 2-3 ล้านคน และจากข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ในปี 2551 ทั่วประเทศพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 388,551 ราย เสียชีวิต 7,725 ราย จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 ได้แก่ กทม. 538 ราย รองลงมาคือ ขอนแก่น 533 ราย อุบลราชธานี 427 ราย อุดรธานี 375 ราย กาฬสินธุ์ 318 ราย
นายมานิต กล่าวต่อว่า โรคเบาหวานเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด สาเหตุกว่าร้อยละ 80 เกิดจากพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกายน้อยลง ที่เหลือเกิดมาจากพันธุกรรม ในปี 2553 มีนโยบายให้ทุกจังหวัดตรวจคัดกรองโรค เบาหวาน โดยให้สถานีอนามัยทั่วประเทศร่วมกับ อสม. ออกคัดกรองผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไปทุกหมู่บ้านให้ได้ร้อยละ 75 ถ้าพบกลุ่มเสี่ยงจะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีขึ้น เช่น ลดกินหวาน มัน เค็ม เพิ่มผัก ผลไม้ เพิ่มการออกกำลังกายให้ได้วันละอย่างน้อย 30 นาที ลดรอบเอวให้น้อยกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย 80 เซนติเมตร ในผู้หญิง ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ซึ่งจะช่วยลดอัตราการป่วยเป็นเบาหวานและลดอัตราการเสียชีวิตได้