ผู้ว่าฯ กทม.มอบนโยบายทุกหน่วยงานร่วมภาคเอกชนแก้ปัญหายาเสพติด ตั้งเป้าค้นหาและดึงเยาวชนที่ติดยาเสพติดใน 441 ชุมชนเสี่ยงมาบำบัดและเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพอีก
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการบูรณาการเครือข่ายติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด พร้อมกับมอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ กทม.มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายกับ กทม.จำนวนมาก อาทิ ป.ป.ส. กทม. กอ.รมน.กทม.สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ผู้นำชุมชนจากพื้นที่เสี่ยง 441 ชุมชน เข้าร่วม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จัดเป็นพื้นที่เสี่ยง เพราะมีปริมาณผู้เสพและผู้ติดยาสูงถึงร้อยละ 30 ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ยาก หาก กทม.ดำเนินการโดยลำพัง จึงต้องร่วมกับหลายหน่วยงานประสานแก้ไขปัญหาทำงานเป็นรูปแบบเครือข่าย ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานต่างๆ รวมถึงภาคประชาชนชักจูงผู้ที่ติดยาเสพติดให้เข้ารับการบำบัดด้วยความสมัครใจ ที่คลินิกบำบัดรักษายาเสพติดซึ่งตั้งอยู่ 18 แห่งทั่ว กทม.รวมถึงต้องเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพติดยาอีกครั้ง เบื้องต้นโครงการจะเน้นไปที่ชุมชนเสี่ยง 441 ชุมชน ตั้งเป้าจะต้องดึงเยาวชนหลงผิดเข้ารับบำบัดโครงการดังกล่าวไม่น้อย 20,000 คน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กทม.ร่วมกับ ป.ป.ส.กทม.จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรองรับผู้ติดยาเสพติด ทั้งในระบบสมัครใจ และบังคับบำบัดด้วย รวมถึงได้จัดชุดสืบค้นหาข้อมูลผู้ติดยาเสพติดในชุมชน โดยความร่วมมือ กอ.รมน.กทม.กับภาคประชาชน ขณะเดียวกัน กทม.ให้ความสนับสนุนกิจกรรมที่จะดึงให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด โดยเฉพาะกิจกรรมด้านกีฬา ตัวอย่างที่ดำเนินการไปแล้วคือ นำร่องจัดทำพื้นที่ลานกีฬาให้เยาวชนแสดงความสามารถด้านต่างๆ ที่ฮาร์ดร็อคคาเฟ่ สยามสแควร์ วันเสาร์และอาทิตย์ ถ้าประเมินแล้วได้ผลสำเร็จจะขยายไปยังพื้นที่อื่นใน กทม.โดยเตรียมจะไปพูดคุยกับห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ว่างเพื่อขอมาจัดทำเป็นลานกีฬาให้เยาวชนได้ใช้ทุกวันเสาร์และอาทิตย์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมโครงการบูรณาการเครือข่ายติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด พร้อมกับมอบนโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ กทม.มีหน่วยงานต่างๆ ร่วมเป็นภาคีเครือข่ายกับ กทม.จำนวนมาก อาทิ ป.ป.ส. กทม. กอ.รมน.กทม.สำนักงานเขตทั้ง 50 เขต ผู้นำชุมชนจากพื้นที่เสี่ยง 441 ชุมชน เข้าร่วม
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม.จัดเป็นพื้นที่เสี่ยง เพราะมีปริมาณผู้เสพและผู้ติดยาสูงถึงร้อยละ 30 ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด การแก้ไขปัญหาดังกล่าว เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ยาก หาก กทม.ดำเนินการโดยลำพัง จึงต้องร่วมกับหลายหน่วยงานประสานแก้ไขปัญหาทำงานเป็นรูปแบบเครือข่าย ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานต่างๆ รวมถึงภาคประชาชนชักจูงผู้ที่ติดยาเสพติดให้เข้ารับการบำบัดด้วยความสมัครใจ ที่คลินิกบำบัดรักษายาเสพติดซึ่งตั้งอยู่ 18 แห่งทั่ว กทม.รวมถึงต้องเฝ้าระวังไม่ให้กลับไปเสพติดยาอีกครั้ง เบื้องต้นโครงการจะเน้นไปที่ชุมชนเสี่ยง 441 ชุมชน ตั้งเป้าจะต้องดึงเยาวชนหลงผิดเข้ารับบำบัดโครงการดังกล่าวไม่น้อย 20,000 คน
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ กทม.ร่วมกับ ป.ป.ส.กทม.จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรองรับผู้ติดยาเสพติด ทั้งในระบบสมัครใจ และบังคับบำบัดด้วย รวมถึงได้จัดชุดสืบค้นหาข้อมูลผู้ติดยาเสพติดในชุมชน โดยความร่วมมือ กอ.รมน.กทม.กับภาคประชาชน ขณะเดียวกัน กทม.ให้ความสนับสนุนกิจกรรมที่จะดึงให้เยาวชนห่างไกลจากยาเสพติด โดยเฉพาะกิจกรรมด้านกีฬา ตัวอย่างที่ดำเนินการไปแล้วคือ นำร่องจัดทำพื้นที่ลานกีฬาให้เยาวชนแสดงความสามารถด้านต่างๆ ที่ฮาร์ดร็อคคาเฟ่ สยามสแควร์ วันเสาร์และอาทิตย์ ถ้าประเมินแล้วได้ผลสำเร็จจะขยายไปยังพื้นที่อื่นใน กทม.โดยเตรียมจะไปพูดคุยกับห้างสรรพสินค้าที่มีพื้นที่ว่างเพื่อขอมาจัดทำเป็นลานกีฬาให้เยาวชนได้ใช้ทุกวันเสาร์และอาทิตย์