นายดิเรก ถึงฝั่ง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่มี ส.ว.จำนวน 20 คน ถอนชื่อออกจากการยื่นญัตติการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า จะไม่ส่งผลต่อการยื่นญัตติ เพราะเสียง ส.ส. และ ส.ว.ที่เหลืออยู่ ยังเพียงพอที่สามารถยื่นญัตติได้
สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 16-17 กันยายนนี้ จะเป็นการพิจารณาเฉพาะข้อเสนอ 6 ประเด็นของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ ส.ส. และ ส.ว.เสนอมา แม้จะมีเนื้อหาคล้ายกันก็ตาม ทั้งนี้ ขอให้อย่ามองเรื่องดังกล่าวเป็นการทำเพื่อตัวเอง เพราะหากดำเนินการสำเร็จก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในการสร้างความสมานฉันท์นั้น เห็นว่าควรเปิดให้มีเจรจากันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน เพราะการเจรจาจะเป็นจุดเริ่มต้นของสร้างความสมานฉันท์ แต่เห็นว่าท่าทีของรัฐบาลขณะนี้ยังนิ่งเฉยต่อข้อเสนอดังกล่าว
นอกจากนี้ นายดิเรก ยังกล่าวถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ในวันที่ 19 กันยายนว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรควบคุมการชุมนุม เพราะเชื่อว่า จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรง และถือเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงไม่ควรกังวลเกินเหตุ
สำหรับการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ในวันที่ 16-17 กันยายนนี้ จะเป็นการพิจารณาเฉพาะข้อเสนอ 6 ประเด็นของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับประเด็นที่ ส.ส. และ ส.ว.เสนอมา แม้จะมีเนื้อหาคล้ายกันก็ตาม ทั้งนี้ ขอให้อย่ามองเรื่องดังกล่าวเป็นการทำเพื่อตัวเอง เพราะหากดำเนินการสำเร็จก็จะส่งผลดีต่อภาพรวมของประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญในการสร้างความสมานฉันท์นั้น เห็นว่าควรเปิดให้มีเจรจากันระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้าน เพราะการเจรจาจะเป็นจุดเริ่มต้นของสร้างความสมานฉันท์ แต่เห็นว่าท่าทีของรัฐบาลขณะนี้ยังนิ่งเฉยต่อข้อเสนอดังกล่าว
นอกจากนี้ นายดิเรก ยังกล่าวถึงการชุมนุมใหญ่ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.ในวันที่ 19 กันยายนว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงภายในราชอาณาจักรควบคุมการชุมนุม เพราะเชื่อว่า จะไม่มีเหตุการณ์รุนแรง และถือเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จึงไม่ควรกังวลเกินเหตุ