นักเศรษฐศาสตร์ชี้ ความรวดเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบกับชาติตะวันตก นับจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกหลังการล้มละลายของวานิชธนกิจยักษ์ "เลห์แมน บราเธอร์ส" เมื่อ 1 ปีก่อน อาจเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่า กำลังมีการจัดระเบียบ "ขั้วอำนาจ" ครั้งใหม่ของโลก ที่บรรดาชาติในเอเชียจะไม่ต้องพึ่งพาประเทศตะวันตกในการเป็น "หัวรถจักรหลัก" ของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกเพียงลำพังอีกต่อไป
ศาสตราจารย์อโศก จรัญ แห่งสถาบันธุรกิจศึกษา ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เขียนบทความลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สเตรทส์ ไทมส์ของสิงคโปร์ฉบับวันพฤหัสบดี (10) โดยระบุบรรดาเขตเศรษฐกิจทั้งหลายในภูมิภาคเอเชียที่ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาโลกตะวันตกน้อยลงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "ระเบียบโลกใหม่" ที่ภูมิภาคเอเชียจะมีฐานะเป็น "ขุมพลังใหม่" ที่มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ศักยภาพของความต้องการภายในประเทศที่ได้รับแรงสนับสนุนจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลจากภาครัฐ และการเพิ่มพูนของจำนวนชนชั้นกลางในจีน อินเดียและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคซึ่งจะเป็นตัวจักรขับเคลื่อนการบริโภคในแต่ละประเทศต่อไป
ศาสตราจารย์จรัญยังระบุว่า การล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส วานิชธนกิจเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 158 ปีในสหรัฐฯเมื่อวันที่ 15 กันยายน ปีที่แล้ว หลังต้องสูญเงินไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิกฤตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้นำไปสู่การเกิด "มรสุมทางการเงิน" และวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่"เกรท ดีเปรสชั่น"ในทศวรรษ1930
จรัญบอกว่า ในช่วงแรกๆ ของวิกฤตนั้น มีผู้มองว่า จะเป็นหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สำหรับชาติในเอเชียซึ่งล้วนต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเป็นหลัก แต่ด้วยอานิสงส์จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลของประเทศในเอเชีย ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กำลังซื้อภายในประเทศ กลับทำให้เศรษฐกิจเอเชียหลุดพ้นจากการตกต่ำดำดิ่งของเศรษฐกิจโลกมาได้ก่อนโลกตะวันตก
ศาสตราจารย์อโศก จรัญ แห่งสถาบันธุรกิจศึกษา ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ เขียนบทความลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สเตรทส์ ไทมส์ของสิงคโปร์ฉบับวันพฤหัสบดี (10) โดยระบุบรรดาเขตเศรษฐกิจทั้งหลายในภูมิภาคเอเชียที่ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว มีแนวโน้มที่จะพึ่งพาโลกตะวันตกน้อยลงในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคต ซึ่งจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "ระเบียบโลกใหม่" ที่ภูมิภาคเอเชียจะมีฐานะเป็น "ขุมพลังใหม่" ที่มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น โดยอาศัยปัจจัยสำคัญ 2 ประการคือ ศักยภาพของความต้องการภายในประเทศที่ได้รับแรงสนับสนุนจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลจากภาครัฐ และการเพิ่มพูนของจำนวนชนชั้นกลางในจีน อินเดียและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคซึ่งจะเป็นตัวจักรขับเคลื่อนการบริโภคในแต่ละประเทศต่อไป
ศาสตราจารย์จรัญยังระบุว่า การล่มสลายของเลห์แมน บราเธอร์ส วานิชธนกิจเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 158 ปีในสหรัฐฯเมื่อวันที่ 15 กันยายน ปีที่แล้ว หลังต้องสูญเงินไปหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากวิกฤตสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ได้นำไปสู่การเกิด "มรสุมทางการเงิน" และวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่"เกรท ดีเปรสชั่น"ในทศวรรษ1930
จรัญบอกว่า ในช่วงแรกๆ ของวิกฤตนั้น มีผู้มองว่า จะเป็นหายนะทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สำหรับชาติในเอเชียซึ่งล้วนต้องพึ่งพารายได้จากการส่งออกสินค้าเป็นหลัก แต่ด้วยอานิสงส์จากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่ามหาศาลของประเทศในเอเชีย ที่ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กำลังซื้อภายในประเทศ กลับทำให้เศรษฐกิจเอเชียหลุดพ้นจากการตกต่ำดำดิ่งของเศรษฐกิจโลกมาได้ก่อนโลกตะวันตก