นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 7 ว่า ประเทศญี่ปุ่นเริ่มกระบวนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2544 ปัจจุบันญี่ปุ่นได้ประกาศปฏิรูปครั้งใหญ่ เริ่มตั้งแต่การศึกษานิติศาสตร์ ซึ่งกำหนดให้เป็นหลักสูตรยาวโครงการเพิ่มจำนวนนักกฎหมายจาก 20,000 คน ให้เป็น 50,000 คน การให้ประชาชนเป็นคณะลูกขุนร่วมพิจารณาคดีกับผู้พิพากษา ขณะที่ประเทศไทยก็เริ่มกระบวนการปฏิรูปกฎหมายมานาน แต่ขาดการผลักดันอย่างเอาจริงเอาจัง แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้รัฐบาลส่งเสริมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบอย่างจริงจัง แต่ก็ยังไม่เห็นผล จึงคาดหวังว่าการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมจะทำได้จริง เพราะในสถานการณ์ปัจจุบันการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมมีความสำคัญมากที่สุด เพราะวิกฤติในชาติเกิดจากความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม จนเกิดปัญหาอื่นตามมา
ด้านนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ประเทศที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่เข้มแข็งทำให้กระทบกับการพัฒนาประชาธิปไตย คนญี่ปุ่น เกาหลี หรือสหรัฐอเมริกา อยู่อย่างไร้เกียรติไม่ได้ คนของเขาหน้าบาง ทำให้ประเทศเหล่านั้นมีความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพราะมีระบบกฎหมายที่จะขจัดคนไม่ดีออกจากสังคมได้ สำหรับประเทศไทยกระบวนการยุติธรรมก็มีปัญหาทั้งในด้านการบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการ และการคุ้มครองสิทธิ์ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมีราคาแพงที่สุดในโลก แม้แต่เรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวก็ใช้เงินเป็นตัวตั้ง ทำให้จำเลยหลายคดีที่ใช้เงินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหลบหนี ไม่สามารถนำตัวมาฟังคำพิพากษาได้
ด้านนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย กล่าวว่า ประเทศที่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาไม่เข้มแข็งทำให้กระทบกับการพัฒนาประชาธิปไตย คนญี่ปุ่น เกาหลี หรือสหรัฐอเมริกา อยู่อย่างไร้เกียรติไม่ได้ คนของเขาหน้าบาง ทำให้ประเทศเหล่านั้นมีความเจริญทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพราะมีระบบกฎหมายที่จะขจัดคนไม่ดีออกจากสังคมได้ สำหรับประเทศไทยกระบวนการยุติธรรมก็มีปัญหาทั้งในด้านการบังคับใช้กฎหมาย การบริหารจัดการ และการคุ้มครองสิทธิ์ เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมีราคาแพงที่สุดในโลก แม้แต่เรื่องการปล่อยตัวชั่วคราวก็ใช้เงินเป็นตัวตั้ง ทำให้จำเลยหลายคดีที่ใช้เงินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันหลบหนี ไม่สามารถนำตัวมาฟังคำพิพากษาได้