น.พ.ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการด้านยุทธศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข กล่าวถึงกรณีหัวเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จากรัสเซียที่ใช้ในการผลิตวัคซีน พบมีการเปลี่ยนรหัสพันธุกรรม 8 ตำแหน่ง ว่า ในการประชุมคณะทำงานเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการพัฒนาและขึ้นทะเบียนตำรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่ประชุมได้โทรศัพท์มาขอความคิดเห็น ซึ่งตนและผู้เชี่ยวชาญอีก 3 คนเห็นตรงกันว่า ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจนว่าการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมจะส่งผลอะไรบ้าง และมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด และไม่รู้ว่า หากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอะไร จึงไม่สบายใจหากจะมีการเดินหน้าทดลองและผลิตวัคซีนต่อ
น.พ.ประเสริฐ กล่าวว่า แม้แต่การนำไวรัสที่เป็นชนิดเชื้อตายมาผลิตวัคซีนแล้วมีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม ก็ยังต้องมีการทดลองใหม่ แต่วัคซีนที่กำลังผลิตอยู่นี้เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม จึงไม่รู้ว่าจะส่งผลรุนแรงมากน้อยเพียงใด ไม่มีใครรับรองได้ จึงควรชะลอการทดลองไปก่อน และให้กลับมาเริ่มทดลองในสัตว์ซ้ำใหม่อีกครั้ง เพื่อความปลอดภัย
น.พ.ประเสริฐ กล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวอาจสร้างความไม่พอใจให้กับใครบางคน แต่ก็ต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง เพราะความพอใจกับความถูกต้องอาจไปด้วยกันไม่ได้ และในการทดลองในคน ต้องทำให้แน่ชัดว่า วัคซีนที่นำไปทดลองมีความปลอดภัยและป้องกันอาสาสมัครให้มากที่สุด ไม่ใช่ว่าเสี่ยงทดลองในคนทั้งที่ไม่แน่ใจ ดังนั้น คณะกรรมการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ นพ.ประเสริฐ ยังกล่าวว่า มีความไม่สบายใจกรณีที่ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ควบ 2 ตำแหน่ง คือไปนั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ด้วย ซึ่งถือว่ามีความทับซ้อน คือ เป็นทั้งผู้ผลิต ทดลอง และอนุญาต จึงอาจทำให้สังคมคลางแคลงใจ ตนเห็นว่าควรเลือกเพียงตำแหน่งเดียว เพื่อความเหมาะสมและสง่างาม
น.พ.ประเสริฐ กล่าวว่า แม้แต่การนำไวรัสที่เป็นชนิดเชื้อตายมาผลิตวัคซีนแล้วมีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม ก็ยังต้องมีการทดลองใหม่ แต่วัคซีนที่กำลังผลิตอยู่นี้เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม จึงไม่รู้ว่าจะส่งผลรุนแรงมากน้อยเพียงใด ไม่มีใครรับรองได้ จึงควรชะลอการทดลองไปก่อน และให้กลับมาเริ่มทดลองในสัตว์ซ้ำใหม่อีกครั้ง เพื่อความปลอดภัย
น.พ.ประเสริฐ กล่าวว่า การตัดสินใจดังกล่าวอาจสร้างความไม่พอใจให้กับใครบางคน แต่ก็ต้องยืนอยู่บนความถูกต้อง เพราะความพอใจกับความถูกต้องอาจไปด้วยกันไม่ได้ และในการทดลองในคน ต้องทำให้แน่ชัดว่า วัคซีนที่นำไปทดลองมีความปลอดภัยและป้องกันอาสาสมัครให้มากที่สุด ไม่ใช่ว่าเสี่ยงทดลองในคนทั้งที่ไม่แน่ใจ ดังนั้น คณะกรรมการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ และรับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ นพ.ประเสริฐ ยังกล่าวว่า มีความไม่สบายใจกรณีที่ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ ประธานบอร์ดองค์การเภสัชกรรม ควบ 2 ตำแหน่ง คือไปนั่งในตำแหน่งประธานคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ด้วย ซึ่งถือว่ามีความทับซ้อน คือ เป็นทั้งผู้ผลิต ทดลอง และอนุญาต จึงอาจทำให้สังคมคลางแคลงใจ ตนเห็นว่าควรเลือกเพียงตำแหน่งเดียว เพื่อความเหมาะสมและสง่างาม