โอลิวิเยร์ บลองชาร์ด หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุ หากต้องการให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวออกจากภาวะถดถอยได้อย่างยั่งยืนแล้ว จำเป็นจะต้องปรับสมดุลของเศรษฐกิจประเทศต่างๆ เสียใหม่ โดยเฉพาะระหว่างสหรัฐฯ กับเอเชีย
"ขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว การจะรักษาแนวโน้มนี้ให้ยั่งยืนต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องกระทำการปรับสมดุลอันละเอียดอ่อนกันเสียใหม่ ทั้งในระดับภายในประเทศ และระดับระหว่างประเทศ" บลองชาร์ด ระบุในบทความชื่อ "Sustaining a Global Recovery" ของไอเอ็มเอฟ ซึ่งกำหนดนำออกเผยแพร่ในวันพุธ (19)
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟบอกว่า สหรัฐฯซึ่งเป็นศูนย์กลางของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ "คือแกนกลางสำหรับการการฟื้นตัวใดๆ ของโลก"
บลองชาร์ดเสนอว่า ควรดำเนินการปรับสมดุลกันใหม่ 2 ประการเพื่อรักษาการฟื้นตัวให้ยั่งยืนต่อเนื่อง ได้แก่ การเปลี่ยนจากการใช้จ่ายภาครัฐไปสู่การใช้จ่ายในภาคเอกชน และการปรับสมดุลของกระแสไหลเวียนทางการค้าระหว่างประเทศเสียใหม่
บลองชาร์ดชี้ว่า การบริโภคของครัวเรือนอเมริกันนั้นอยู่ในระดับสูงเท่ากับ 70 เปอร์เซ็นต์ของดีมานด์รวมของสหรัฐฯทีเดียว ทว่าเวลานี้ครัวเรือนอเมริกันกำลังประหยัดมากขึ้น และบริโภคน้อยลงคิดแล้วเท่ากับประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีสหรัฐฯ
กุญแจสำคัญของการปรับสมดุลกันใหม่ในกระแสการค้าระหว่างประเทศ จึงอยู่ที่ว่า ประเทศอื่นๆ ต้องมีดีมานด์ในสินค้าอเมริกันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกประเทศที่ได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัดสูงๆ อย่างจีนและประเทศในเอเชียอื่นๆ
"ขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว การจะรักษาแนวโน้มนี้ให้ยั่งยืนต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องกระทำการปรับสมดุลอันละเอียดอ่อนกันเสียใหม่ ทั้งในระดับภายในประเทศ และระดับระหว่างประเทศ" บลองชาร์ด ระบุในบทความชื่อ "Sustaining a Global Recovery" ของไอเอ็มเอฟ ซึ่งกำหนดนำออกเผยแพร่ในวันพุธ (19)
หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ไอเอ็มเอฟบอกว่า สหรัฐฯซึ่งเป็นศูนย์กลางของวิกฤตการณ์ครั้งนี้ "คือแกนกลางสำหรับการการฟื้นตัวใดๆ ของโลก"
บลองชาร์ดเสนอว่า ควรดำเนินการปรับสมดุลกันใหม่ 2 ประการเพื่อรักษาการฟื้นตัวให้ยั่งยืนต่อเนื่อง ได้แก่ การเปลี่ยนจากการใช้จ่ายภาครัฐไปสู่การใช้จ่ายในภาคเอกชน และการปรับสมดุลของกระแสไหลเวียนทางการค้าระหว่างประเทศเสียใหม่
บลองชาร์ดชี้ว่า การบริโภคของครัวเรือนอเมริกันนั้นอยู่ในระดับสูงเท่ากับ 70 เปอร์เซ็นต์ของดีมานด์รวมของสหรัฐฯทีเดียว ทว่าเวลานี้ครัวเรือนอเมริกันกำลังประหยัดมากขึ้น และบริโภคน้อยลงคิดแล้วเท่ากับประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของจีดีพีสหรัฐฯ
กุญแจสำคัญของการปรับสมดุลกันใหม่ในกระแสการค้าระหว่างประเทศ จึงอยู่ที่ว่า ประเทศอื่นๆ ต้องมีดีมานด์ในสินค้าอเมริกันเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกประเทศที่ได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัดสูงๆ อย่างจีนและประเทศในเอเชียอื่นๆ