นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงประมาณการเศรษฐกิจไทย ว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2552 มีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 3 ต่อปี
นายเอกนิติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นจากที่หดตัวต่ำสุดในไตรมาสแรกของปี โดยมีปัจจัยสนับสนุน สำคัญจากการใช้จ่ายของภาครัฐผ่านรายจ่ายเพื่อการบริโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุน จากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ 1 และมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ 2 หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้อุปสงค์ภายในประเทศในช่วงที่เหลือของปีเริ่มปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยหดตัวต่อเนื่องและการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวมาก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงจากรายได้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลงตามภาวะการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 จะลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 0 ต่อปี ตามราคาน้ำมันที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับปีก่อน และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ปัจจัยเสี่ยงด้านเสถียรภาพภายใน คือ อัตราการว่างงานที่คาดว่าจะสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2552 จะเกินดุลมากถึงร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เนื่องจากดุลการค้าที่เกินดุลมากตามมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ลดลงในสัดส่วนที่สูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า
นายเอกนิติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวขึ้นจากที่หดตัวต่ำสุดในไตรมาสแรกของปี โดยมีปัจจัยสนับสนุน สำคัญจากการใช้จ่ายของภาครัฐผ่านรายจ่ายเพื่อการบริโภคและรายจ่ายเพื่อการลงทุน จากมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ 1 และมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ 2 หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้อุปสงค์ภายในประเทศในช่วงที่เหลือของปีเริ่มปรับตัวดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักของไทยหดตัวต่อเนื่องและการใช้จ่ายภาคเอกชนที่ฟื้นตัวช้า โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวมาก ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนที่ชะลอลงจากรายได้ของภาคครัวเรือนที่มีแนวโน้มลดลงตามภาวะการว่างงานที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจหดตัว
สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2552 จะลดลงจากปีก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ 0 ต่อปี ตามราคาน้ำมันที่ลดลงมากเมื่อเทียบกับปีก่อน และค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่ปัจจัยเสี่ยงด้านเสถียรภาพภายใน คือ อัตราการว่างงานที่คาดว่าจะสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจนอกประเทศ คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2552 จะเกินดุลมากถึงร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เนื่องจากดุลการค้าที่เกินดุลมากตามมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่ลดลงในสัดส่วนที่สูงมากกว่ามูลค่าการส่งออกสินค้า