นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ได้เป็นประธานการประชุมวุฒิสภาครั้งที่ 3 สมัยสามัญนิติบัญญัติซึ่งมีการรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล และบัญชีกำไรขาดทุนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือเอสเอ็มอีแบงก์ โดยมีการอภิปรายอย่างกว้างขวางจาก ส.ว. ที่แสดงความเป็นห่วงต่อผลประกอบการที่ขาดทุนจำนวนมาก มีการปล่อยกู้ไม่ได้ตามเป้าหมาย ผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางเข้าถึงได้ยาก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการใช้เส้นสายฝากนามบัตรในการปล่อยสินเชื่อมากกว่าการวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมา อันเป็นการสร้างความลำบากใจแก่เจ้าหน้าที่
ขณะที่ผู้แทนเอสเอ็มอีแบงก์ ยืนยันว่า เป้าหมายการปล่อยกู้วงเงิน 26,000 ล้านบาทในปีนี้ ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากในช่วงครึ่งปีนี้ ธนาคารปล่อยกู้ไปแล้ว 1.7 หมื่นล้านบาท และยังมีลูกค้ารอกู้เงินอยู่อีกไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท ส่วนที่มีปัญหามาจากลูกค้าไม่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และเจ้าหน้าที่ธนาคารไม่ได้แจ้งรายละเอียดที่ต้องปรับปรุง ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการเข้าไปดูแลแล้ว ซึ่งปีนี้ลูกค้าทุกรายที่เข้าไปติดต่อยังไม่มีรายใดที่ถูกปฏิเสธ
ส่วนการประชุมในวาระรับทราบรายงานกิจการประจำปีของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ โดย นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ได้สอบถามถึงการปล่อยกู้ให้ประเทศพม่าจำนวน 4 พันล้านบาทในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า ได้มีการชำระเงินแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อกล่าวหาว่าโครงการดังกล่าวต้องการใช้เงิน 2 พันล้านบาท แต่ที่มีการปล่อยกู้ให้ถึง 4 พันล้านบาท เนื่องจากมีการทอนเงิน ดังนั้น หากมีผู้ประกอบการรายอื่นต้องการบ้างจะทำอย่างไร พร้อมกันนี้ ยังได้ร้องขอเอกสารการกู้เงินดังกล่าวจากธนาคารเพื่อเป็นหลักฐาน เนื่องจากเชื่อว่าต่อไปจะเกิดปัญหา
ทั้งนี้ นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้นายสมพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ชี้แจงว่า วงเงินกู้ให้รัฐบาลพม่าดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2548 และกำหนดให้มีการชำระเงินงวดแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ไปจนครบกำหนดในเดือนสิงหาคม 2559 ส่วนการพิจารณาวงเงินในการปล่อยกู้เป็นเรื่องนโยบายที่อยู่นอกเหนือธนาคาร เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร ดังนั้น เรื่องตัวเลขจึงต้องไปถามจากกระทรวงการต่างประเทศ เพราะเป็นตัวกลางในการกำหนดว่าประเทศเพื่อนบ้าน มีโครงการอะไร ขณะที่ธนาคารจะมีหน้าที่ตรวจสอบดูว่ามีโครงการทำจริง มีหน่วยงานรับผิดชอบ มีการส่งออกและมีผู้ประกอบการเป็นคนไทยจริงหรือไม่เท่านั้น
ขณะที่ผู้แทนเอสเอ็มอีแบงก์ ยืนยันว่า เป้าหมายการปล่อยกู้วงเงิน 26,000 ล้านบาทในปีนี้ ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เนื่องจากในช่วงครึ่งปีนี้ ธนาคารปล่อยกู้ไปแล้ว 1.7 หมื่นล้านบาท และยังมีลูกค้ารอกู้เงินอยู่อีกไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นล้านบาท ส่วนที่มีปัญหามาจากลูกค้าไม่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด และเจ้าหน้าที่ธนาคารไม่ได้แจ้งรายละเอียดที่ต้องปรับปรุง ซึ่งได้แก้ปัญหาโดยให้เจ้าหน้าที่พัฒนาผู้ประกอบการเข้าไปดูแลแล้ว ซึ่งปีนี้ลูกค้าทุกรายที่เข้าไปติดต่อยังไม่มีรายใดที่ถูกปฏิเสธ
ส่วนการประชุมในวาระรับทราบรายงานกิจการประจำปีของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ เอ็กซิมแบงก์ โดย นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ได้สอบถามถึงการปล่อยกู้ให้ประเทศพม่าจำนวน 4 พันล้านบาทในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า ได้มีการชำระเงินแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ ยังมีข้อกล่าวหาว่าโครงการดังกล่าวต้องการใช้เงิน 2 พันล้านบาท แต่ที่มีการปล่อยกู้ให้ถึง 4 พันล้านบาท เนื่องจากมีการทอนเงิน ดังนั้น หากมีผู้ประกอบการรายอื่นต้องการบ้างจะทำอย่างไร พร้อมกันนี้ ยังได้ร้องขอเอกสารการกู้เงินดังกล่าวจากธนาคารเพื่อเป็นหลักฐาน เนื่องจากเชื่อว่าต่อไปจะเกิดปัญหา
ทั้งนี้ นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้มอบหมายให้นายสมพันธ์ เอี่ยมรุ่งโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการเอ็กซิมแบงก์ชี้แจงว่า วงเงินกู้ให้รัฐบาลพม่าดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 2548 และกำหนดให้มีการชำระเงินงวดแรกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2553 ไปจนครบกำหนดในเดือนสิงหาคม 2559 ส่วนการพิจารณาวงเงินในการปล่อยกู้เป็นเรื่องนโยบายที่อยู่นอกเหนือธนาคาร เพราะขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะสนับสนุนประเทศเพื่อนบ้านอย่างไร ดังนั้น เรื่องตัวเลขจึงต้องไปถามจากกระทรวงการต่างประเทศ เพราะเป็นตัวกลางในการกำหนดว่าประเทศเพื่อนบ้าน มีโครงการอะไร ขณะที่ธนาคารจะมีหน้าที่ตรวจสอบดูว่ามีโครงการทำจริง มีหน่วยงานรับผิดชอบ มีการส่งออกและมีผู้ประกอบการเป็นคนไทยจริงหรือไม่เท่านั้น