การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซีย ครั้งที่ 41 (AEM) วันสุดท้าย มีการประชุมระหว่างอาเซียนกับสภาธุรกิจสหรัฐฯ โดยก่อนการประชุมจะเริ่มขึ้น ไทยและผู้แทนสภาธรุกิจสหรัฐฯ ได้หารือทวิภาคีระหว่างกัน
นายไชยา ยิ้มวิไล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับสภาธุรกิจสหรัฐฯ บรรยากาศเป็นไปด้วยดี โดยสหรัฐฯ ต้องการขยายตลาดการค้าการลงทุนเข้ามาในประเทศไทย โดยมองว่าไทยมีศักยภาพเพียงพอในการลงทุนด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ลอจิสติกส์ ทั้งนี้สหรัฐฯ ได้เร่งรัดให้ไทยลงทุน ขณะที่ไทยเสนอให้สหรัฐฯ ลดมาตรการกีดกันทางการค้า รวมถึงมาตรการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสหรัฐฯ มีท่าทีตอบรับ
ขณะที่การหารือทวิภาคีระหว่างอาเซียนกับสภาธุรกิจสหรัฐฯ บรรยากาศค่อนข้างเข้มงวด โดยสหรัฐฯ แสดงท่าทีกดดันอาเซียนให้รวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนให้ได้ภายในปี 2558 ซึ่งนักธุรกิจสหรัฐฯ มีความกังวลเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน ทั้งภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต
ด้านอาเซียนเรียกร้องให้สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกองทุน การลดมาตรการกีดกันทางการค้า การจัดตั้งเงินทุนกู้ยืม โดยอาเซียนหวังว่า สหรัฐฯ จะมีการลงทุนในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันมีการลงทุนในอันดับ 4 และการที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับกลุ่มอาเซียนมากขึ้น หลังจากอาเซียนลงนามทางการค้ากับจีนและอินเดีย ทำให้ตลาดอาเซียนเข้มแข็งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การหารือระหว่างรัฐมนตรีอาเซียนกับภาคเอกชน จะเป็นส่วนในการสนับสนุนความสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากการลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ความตกลงว่าด้วยความลงทุนอาเซียน-จีน การตกลงความร่วมมืออาเซียน-เกาหลี รวมทั้งการเห็นพ้องที่จะให้มีการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวก 3 บวก 6 อย่างเป็นรูปธรรม
นายไชยา ยิ้มวิไล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการหารือทวิภาคีระหว่างไทยกับสภาธุรกิจสหรัฐฯ บรรยากาศเป็นไปด้วยดี โดยสหรัฐฯ ต้องการขยายตลาดการค้าการลงทุนเข้ามาในประเทศไทย โดยมองว่าไทยมีศักยภาพเพียงพอในการลงทุนด้านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ลอจิสติกส์ ทั้งนี้สหรัฐฯ ได้เร่งรัดให้ไทยลงทุน ขณะที่ไทยเสนอให้สหรัฐฯ ลดมาตรการกีดกันทางการค้า รวมถึงมาตรการป้องกันการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งสหรัฐฯ มีท่าทีตอบรับ
ขณะที่การหารือทวิภาคีระหว่างอาเซียนกับสภาธุรกิจสหรัฐฯ บรรยากาศค่อนข้างเข้มงวด โดยสหรัฐฯ แสดงท่าทีกดดันอาเซียนให้รวมกลุ่มเป็นประชาคมอาเซียนให้ได้ภายในปี 2558 ซึ่งนักธุรกิจสหรัฐฯ มีความกังวลเรื่องการอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน ทั้งภาษีศุลกากรและภาษีสรรพสามิต
ด้านอาเซียนเรียกร้องให้สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งกองทุน การลดมาตรการกีดกันทางการค้า การจัดตั้งเงินทุนกู้ยืม โดยอาเซียนหวังว่า สหรัฐฯ จะมีการลงทุนในอาเซียนเพิ่มมากขึ้น จากปัจจุบันมีการลงทุนในอันดับ 4 และการที่สหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับกลุ่มอาเซียนมากขึ้น หลังจากอาเซียนลงนามทางการค้ากับจีนและอินเดีย ทำให้ตลาดอาเซียนเข้มแข็งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การหารือระหว่างรัฐมนตรีอาเซียนกับภาคเอกชน จะเป็นส่วนในการสนับสนุนความสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ให้สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งจากการลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ความตกลงว่าด้วยความลงทุนอาเซียน-จีน การตกลงความร่วมมืออาเซียน-เกาหลี รวมทั้งการเห็นพ้องที่จะให้มีการเจรจาเขตการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวก 3 บวก 6 อย่างเป็นรูปธรรม