ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยถึงผลสำรวจเกี่ยวกับ การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในสายตาคนกรุงเทพฯ โดยเก็บข้อมูลจากคนกรุงเทพฯ อายุ 18 ปีขึ้นไปทุกสาขาอาชีพ จำนวน 1,104 คน
ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 79.9 ยอมรับว่า เคยซื้อหรือเช่าสินค้าลอกเลียนแบบหรือละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นซีดี ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์มากที่สุดร้อยละ 40.4 รองลงมาเป็นกระเป๋า รองเท้า แว่นตา นาฬิกา ร้อยละ 20.7 ส่วนที่ไม่เคยซื้อหรือเช่าร้อยละ 20.1 โดยให้เหตุผลว่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ผิดกฎหมาย ส่วนเหตุผลของคนที่ตัดสินใจซื้อหรือเช่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องของราคาถูกมากที่สุดร้อยละ 48.6 หาซื้อได้ง่ายร้อยละ 26.4 เมื่อถามถึงความรู้สึกผิดที่ไปซื้อหรือเช่าสินค้าดังกล่าว รู้สึกผิดร้อยละ 48.0 แต่ไม่รู้สึกผิดร้อยละ 52.0
ขณะที่ความคิดเห็นต่อสาเหตุหลักที่ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า เพราะสินค้าลิขสิทธิ์มีราคาแพงเกินไปร้อยละ 40.1 รองลงมาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลยหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องร้อยละ 19.6 สำหรับการแก้ปัญหาในเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย เห็นว่า ควรแก้ปัญหาร้อยละ 95.4 แต่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาร้อยละ 4.6 ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดคือ ลดราคาสินค้ามีลิขสิทธิ์ให้ถูกลงร้อยละ 38.9 เพิ่มบทลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ให้รุนแรงขึ้นร้อยละ 18.9
ส่วนความคิดเห็นต่อการออกกฎหมายเพื่อเอาผิดกับผู้ซื้อและผู้เช่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่เห็นด้วยร้อยละ 38.2 เห็นด้วยเฉพาะสินค้าประเภทซีดี ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์ ร้อยละ 13.7 เห็นด้วยที่จะใช้กับสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ทุกประเภทร้อยละ 48.1
น.ส.อรรยา สิงห์สงบ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของประเทศไทยคือ การขาดการส่งเสริมให้คนมีจิตสำนึกและเคารพต่องานสร้างสรรค์ของบุคคลอื่น นอกจากนี้การขาดความเข้าใจในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะบางครั้งผู้ละเมิดไม่คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
ทั้งนี้ ผลสำรวจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 79.9 ยอมรับว่า เคยซื้อหรือเช่าสินค้าลอกเลียนแบบหรือละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นซีดี ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์มากที่สุดร้อยละ 40.4 รองลงมาเป็นกระเป๋า รองเท้า แว่นตา นาฬิกา ร้อยละ 20.7 ส่วนที่ไม่เคยซื้อหรือเช่าร้อยละ 20.1 โดยให้เหตุผลว่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ผิดกฎหมาย ส่วนเหตุผลของคนที่ตัดสินใจซื้อหรือเช่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นเรื่องของราคาถูกมากที่สุดร้อยละ 48.6 หาซื้อได้ง่ายร้อยละ 26.4 เมื่อถามถึงความรู้สึกผิดที่ไปซื้อหรือเช่าสินค้าดังกล่าว รู้สึกผิดร้อยละ 48.0 แต่ไม่รู้สึกผิดร้อยละ 52.0
ขณะที่ความคิดเห็นต่อสาเหตุหลักที่ประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า เพราะสินค้าลิขสิทธิ์มีราคาแพงเกินไปร้อยละ 40.1 รองลงมาเป็นเจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลยหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องร้อยละ 19.6 สำหรับการแก้ปัญหาในเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย เห็นว่า ควรแก้ปัญหาร้อยละ 95.4 แต่เห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาร้อยละ 4.6 ซึ่งแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดคือ ลดราคาสินค้ามีลิขสิทธิ์ให้ถูกลงร้อยละ 38.9 เพิ่มบทลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ให้รุนแรงขึ้นร้อยละ 18.9
ส่วนความคิดเห็นต่อการออกกฎหมายเพื่อเอาผิดกับผู้ซื้อและผู้เช่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่เห็นด้วยร้อยละ 38.2 เห็นด้วยเฉพาะสินค้าประเภทซีดี ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์ ร้อยละ 13.7 เห็นด้วยที่จะใช้กับสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ทุกประเภทร้อยละ 48.1
น.ส.อรรยา สิงห์สงบ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าวว่า ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของประเทศไทยคือ การขาดการส่งเสริมให้คนมีจิตสำนึกและเคารพต่องานสร้างสรรค์ของบุคคลอื่น นอกจากนี้การขาดความเข้าใจในเรื่องของการละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะบางครั้งผู้ละเมิดไม่คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น