นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ประธานอนุกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการตรวจเชื้อดื้อยาโอเซลทามิเวียร์ที่พบในผู้ป่วยชายในกรุงเทพมหาครนั้น เป็นเพียงการตั้งข้อสงสัย แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่า เกิดจากการดื้อยาโอเซลทามิเวียร์หรือไม่ เพราะการตรวจเชื้อดื้อยาต้องตรวจทั้ง 2 วิธี คือดูการเปลี่นยตำแหน่งของกรดอามิโน อย่างในผู้ป่วยรายนี้มีการเปลี่ยนตำแหน่งที่ 274 ซึ่งเปลี่ยนจากกรดฮิสตาดีน เป็นกรดไทโลซีน ซึ่งมักจะเกิดการดื้อยา แต่ก็ต้องมีการตรวจยืนยันอีกครั้ง โดยการนำเชื้อตัวอย่างมาทดสอบกับฤทธิ์ของยาโอเซลทามิเวียร์ แต่เนื่องจากเชื้อตัวอย่างหมดไปแล้ว จึงไม่สามารถนำมาทดสอบได้
นอกจากนี้ จากการสอบสวนโรค พบว่าผู้ป่วยชายที่เกิดการดื้อยารายนี้ ไม่เคยได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ แสดงว่าเป็นเชื้อดื้อยาที่เกิดเองตามธรรมชาติ และขณะนี้ผู้ป่วยหายเป็นปกติแล้ว และคนใกล้ชิดก็ไม่ป่วย แสดงว่าเชื้อดื้อยาไม่ได้กระจายไปสู่ผู้อื่น
นายแพทย์ประเสริฐ กล่าวด้วยว่า มีความจำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขจะต้องสำรองยาซานามิเวียร์ไว้ แต่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะต้องเพิ่มจำนวนมากน้อยเพียงใด โดยจะให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์และวางแผนไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 พิจารณาอีกครั้ง
นอกจากนี้ จากการสอบสวนโรค พบว่าผู้ป่วยชายที่เกิดการดื้อยารายนี้ ไม่เคยได้รับยาโอเซลทามิเวียร์ แสดงว่าเป็นเชื้อดื้อยาที่เกิดเองตามธรรมชาติ และขณะนี้ผู้ป่วยหายเป็นปกติแล้ว และคนใกล้ชิดก็ไม่ป่วย แสดงว่าเชื้อดื้อยาไม่ได้กระจายไปสู่ผู้อื่น
นายแพทย์ประเสริฐ กล่าวด้วยว่า มีความจำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขจะต้องสำรองยาซานามิเวียร์ไว้ แต่ยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะต้องเพิ่มจำนวนมากน้อยเพียงใด โดยจะให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์และวางแผนไข้หวัดใหญ่ฯ 2009 พิจารณาอีกครั้ง