เจพีมอร์แกน, โกลด์แมนแซคส์, และแบงก์ขนาดใหญ่ของสหรัฐฯอีก 8 แห่ง ได้รับอนุมัติและรีบดำเนินการจ่ายคืนเงินจำนวนรวม 68,000 ล้านดอลลาร์ ที่กู้ยืมรัฐบาลตามโครงการกอบกู้ช่วยชีวิตภาคการเงินการธนาคารแล้ว นับเป็นสัญญาณแสดงว่าอุตสาหกรรมนี้มีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้หลายฝ่ายมองว่าการที่ธนาคารเหล่านี้เร่งจ่ายเงินคืน ก็เพราะต้องการจะออกไปให้พ้นการควบคุมของรัฐบาลที่มีการออกระเบียบตั้งเพดานการจ่ายเงินตอบแทนให้แก่พวกผู้บริหาร
การกำหนดเพดานการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บริหารนั้น เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งที่ทางธนาคารต้องยินยอม เมื่อขอกู้เงินจากทางการสหรัฐฯเข้ามาประคองการเงินของตนเองเอาไว้ตาม "โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา" (Troubled Asset Relief Program หรือ TARP) ขณะที่การคืนเงินนี้ก็ถูกมองด้วยว่าเป็นฐานสำหรับเริ่มแยกธนาคารที่แข็งแกร่งออกมาจากธนาคารที่ยังคงอ่อนแอจากวิกฤตการเงินอยู่
หลังจาก เลห์แมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจยักษ์รายหนึ่งของวอลล์สตรีท ประสบภาวะล้มละลายเมื่อกลางปีที่แล้ว ก็ส่งผลกระทบทำให้ธนาคารต่างๆ เกิดการขาดแคลนสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนรัฐบาลสหรัฐฯในช่วงปลายสมัยคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ต้องตั้งโครงการ TARP ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ธนาคารของสหรัฐฯไม่ล้มครืนลงมา และส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ
มาเมื่อต้นปีนี้ สถานการณ์ของธนาคารขนาดใหญ่เริ่มดีขึ้นมาก ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะขอคืนเงินกู้โดยเร็วเพื่อให้หลุดพ้นจากการควบคุมของรัฐบาล
ตามประกาศของกระทรวงการคลังที่ออกเมื่อวันอังคาร (9) มิได้ระบุชื่อธนาคาร โดยกล่าวเพียงแต่ว่าธนาคาร10 แห่งได้รับอนุมัติให้คืนเงินกู้แก่รัฐบาลแล้ว อย่างไรก็ตาม แบงก์ทั้ง 10 ต่างก็รีบเร่งแถลงข่าวว่าพวกตนปลอดพ้นจากการเป็นหนี้รัฐบาล
ในส่วนของรัฐบาลนั้น รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์กล่าวว่า การจ่ายเงินคืนเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าภาคการเงินสหรัฐฯเริ่มดีขึ้นแล้ว แต่ก็กล่าวว่าสหรัฐฯและประเทศอื่น ๆในกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) ยังจะต้องเน้นหนักไปที่การจัดวางมาตรการต่าง ๆเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวต่อไปอีก
การกำหนดเพดานการจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บริหารนั้น เป็นเงื่อนไขข้อหนึ่งที่ทางธนาคารต้องยินยอม เมื่อขอกู้เงินจากทางการสหรัฐฯเข้ามาประคองการเงินของตนเองเอาไว้ตาม "โครงการบรรเทาสินทรัพย์ที่มีปัญหา" (Troubled Asset Relief Program หรือ TARP) ขณะที่การคืนเงินนี้ก็ถูกมองด้วยว่าเป็นฐานสำหรับเริ่มแยกธนาคารที่แข็งแกร่งออกมาจากธนาคารที่ยังคงอ่อนแอจากวิกฤตการเงินอยู่
หลังจาก เลห์แมน บราเธอร์ วาณิชธนกิจยักษ์รายหนึ่งของวอลล์สตรีท ประสบภาวะล้มละลายเมื่อกลางปีที่แล้ว ก็ส่งผลกระทบทำให้ธนาคารต่างๆ เกิดการขาดแคลนสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนรัฐบาลสหรัฐฯในช่วงปลายสมัยคณะรัฐบาลจอร์จ ดับเบิลยู บุช ต้องตั้งโครงการ TARP ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ธนาคารของสหรัฐฯไม่ล้มครืนลงมา และส่งผลร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ
มาเมื่อต้นปีนี้ สถานการณ์ของธนาคารขนาดใหญ่เริ่มดีขึ้นมาก ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะขอคืนเงินกู้โดยเร็วเพื่อให้หลุดพ้นจากการควบคุมของรัฐบาล
ตามประกาศของกระทรวงการคลังที่ออกเมื่อวันอังคาร (9) มิได้ระบุชื่อธนาคาร โดยกล่าวเพียงแต่ว่าธนาคาร10 แห่งได้รับอนุมัติให้คืนเงินกู้แก่รัฐบาลแล้ว อย่างไรก็ตาม แบงก์ทั้ง 10 ต่างก็รีบเร่งแถลงข่าวว่าพวกตนปลอดพ้นจากการเป็นหนี้รัฐบาล
ในส่วนของรัฐบาลนั้น รัฐมนตรีคลัง ทิโมธี ไกธ์เนอร์กล่าวว่า การจ่ายเงินคืนเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าภาคการเงินสหรัฐฯเริ่มดีขึ้นแล้ว แต่ก็กล่าวว่าสหรัฐฯและประเทศอื่น ๆในกลุ่ม 8 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (จี8) ยังจะต้องเน้นหนักไปที่การจัดวางมาตรการต่าง ๆเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวต่อไปอีก