พ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ ดีเอสไอ ร่วมแถลงข่าวผลการจับกุมขบวนการฮั้วประมูลโครงการชลประทานสุพรรณบุรี ต.โพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งจัดให้มีการประกวดราคา 4 รายการ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 63,019,000 บาท ประกอบด้วย 1. การจัดซื้อไม้เนื้ออ่อนแปรรูป วงเงินงบประมาณ 6,275,000 บาท 2. การจัดซื้อคอนกรีตผสมเสร็จชั้นคุณภาพ วงเงินงบประมาณ 19,952,000 บาท 3. การจัดซื้อเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตชนิดเหล็กเส้นข้ออ้อย วงเงินงบประมาณ 18,191,000 บาท และ 4. การจัดซื้อเสาเข็มคอนเกรีตอัดแรงพร้อมตอก วงเงินงบประมาณ 18,601,000 บาท
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวว่า ดีเอสไอได้เข้าแฝงตัวสืบสวนพฤติการณ์การฮั้วประมูลโครงการดังกล่าว พบว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่สำนักงานชลประทานสุพรรณบุรี เปิดรับการเสนอเอกสารการประมูลผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีบริษัทห้างร้านเดินทางมาเพื่อยื่นเอกสารประกวดราคาประมาณ 20-30 บริษัท แต่ผู้ที่ต้องการยื่นซองประกวดราคาทุกราย รวมถึงเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่แฝงตัวเป็นผู้รับเหมาเอกชนกลับได้รับการติดต่อจากกลุ่มบุคคล เพื่อมิให้มีการยื่นซองเอกสารการประมูล โดยบริษัทที่ตกลงไม่เข้าร่วมประกวดราคาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
ด้านนายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ พนักงานสอบสวนสำนักคดีอาญาพิเศษ ดีเอสไอ กล่าวว่า ชุดสืบสวนที่เข้าแฝงตัวพบว่า การเปิดให้ยื่นซองประกวดราคาที่สำนักงานชลประทานสุพรรณบุรีสังเกตได้ว่า มีกลุ่มชายประมาณ 2-3 คน ยืนคุมอยู่บริเวณหน้าห้องที่จะยื่นเอกสาร และอีก 2-3 คน ยืนคุมอยู่บริเวณโดยรอบสำนักงาน กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้เรียกบริษัท ห้างที่ยื่นเอกสาร มาต่อรองจ่ายเงินให้ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป หากคำนวณจำนวนบริษัทที่ยื่นเอกสาร จะมีการจ่ายรับเงินจากการฮั้วประมูลไม่น้อยกว่า 1,300,000 บาท เมื่อถึงเวลายื่นเอกสารการประกวดราคา กลับพบเพียง 3-4 ราย ที่เข้ายื่นเอกสาร ทั้งที่มีผู้รับแบบเกือบ 100 รายในแต่ละรายการ จึงเห็นได้ว่า อาจมีการฮั้วประมูลกัน หากมีการแข่งขันราคาจริงจะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก ดีเอสไอจึงได้ขออำนาจศาลเพื่ออนุมัติหมายจับกลุ่มบุคคลดังกล่าวในเบื้องต้น 3 ราย และได้จับกุมผู้ต้องหาได้ 1 ราย ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มจัดการฮั้ว เป็นบุคคลที่มีนามสกุลเป็นที่รู้จัก ในจังหวัดสุพรรณบุรี
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย เพราะต้องติดตามจับกุมผู้ต้องหาอีก 2 ราย ที่ยังหลบหนีอยู่ เบื้องต้น ผู้ต้องหา 1 รายที่จับมาได้ให้การปฏิเสธและขอให้การในชั้นศาล โดยพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกันตัว และจะนำตัวส่งศาลในช่วงบ่ายวันนี้
พ.อ.ปิยะวัฒก์ กล่าวว่า ดีเอสไอได้เข้าแฝงตัวสืบสวนพฤติการณ์การฮั้วประมูลโครงการดังกล่าว พบว่าเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันที่สำนักงานชลประทานสุพรรณบุรี เปิดรับการเสนอเอกสารการประมูลผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีบริษัทห้างร้านเดินทางมาเพื่อยื่นเอกสารประกวดราคาประมาณ 20-30 บริษัท แต่ผู้ที่ต้องการยื่นซองประกวดราคาทุกราย รวมถึงเจ้าหน้าที่ดีเอสไอที่แฝงตัวเป็นผู้รับเหมาเอกชนกลับได้รับการติดต่อจากกลุ่มบุคคล เพื่อมิให้มีการยื่นซองเอกสารการประมูล โดยบริษัทที่ตกลงไม่เข้าร่วมประกวดราคาจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทน
ด้านนายธานินทร์ เปรมปรีดิ์ พนักงานสอบสวนสำนักคดีอาญาพิเศษ ดีเอสไอ กล่าวว่า ชุดสืบสวนที่เข้าแฝงตัวพบว่า การเปิดให้ยื่นซองประกวดราคาที่สำนักงานชลประทานสุพรรณบุรีสังเกตได้ว่า มีกลุ่มชายประมาณ 2-3 คน ยืนคุมอยู่บริเวณหน้าห้องที่จะยื่นเอกสาร และอีก 2-3 คน ยืนคุมอยู่บริเวณโดยรอบสำนักงาน กลุ่มบุคคลดังกล่าวได้เรียกบริษัท ห้างที่ยื่นเอกสาร มาต่อรองจ่ายเงินให้ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป หากคำนวณจำนวนบริษัทที่ยื่นเอกสาร จะมีการจ่ายรับเงินจากการฮั้วประมูลไม่น้อยกว่า 1,300,000 บาท เมื่อถึงเวลายื่นเอกสารการประกวดราคา กลับพบเพียง 3-4 ราย ที่เข้ายื่นเอกสาร ทั้งที่มีผู้รับแบบเกือบ 100 รายในแต่ละรายการ จึงเห็นได้ว่า อาจมีการฮั้วประมูลกัน หากมีการแข่งขันราคาจริงจะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก ดีเอสไอจึงได้ขออำนาจศาลเพื่ออนุมัติหมายจับกลุ่มบุคคลดังกล่าวในเบื้องต้น 3 ราย และได้จับกุมผู้ต้องหาได้ 1 ราย ซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มจัดการฮั้ว เป็นบุคคลที่มีนามสกุลเป็นที่รู้จัก ในจังหวัดสุพรรณบุรี
อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถเปิดเผยรายชื่อผู้ต้องหาทั้ง 3 ราย เพราะต้องติดตามจับกุมผู้ต้องหาอีก 2 ราย ที่ยังหลบหนีอยู่ เบื้องต้น ผู้ต้องหา 1 รายที่จับมาได้ให้การปฏิเสธและขอให้การในชั้นศาล โดยพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกันตัว และจะนำตัวส่งศาลในช่วงบ่ายวันนี้