นักวิเคราะห์และผู้ผลิตรถยนต์ระบุวานนี้ (1) ว่า บรรดาผู้ผลิตรถในเอเชียต่างเตรียมหาทางป้องกันตนเอง จากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังที่เจนเนอรัล มอเตอร์ คอร์ป (จีเอ็ม) ของสหรัฐฯ ประกาศขอล้มละลาย โดยเฉพาะในส่วนของกิจการร่วมทุนผลิต นอกจากนั้น ผู้ผลิตรถเอเชียยังคาดว่าจะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป
"ความหมายของการล้มละลายข้อแรกสุดก็คือว่า บริษัทจะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมและก็จะมีส่วนแบ่งตลาดให้ช่วงชิงกันเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าคู่แข่งอย่างโตโยต้า ฮอนดา นิสสัน และฮุนได ต่างกำลังจะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม" คริสโตเฟอร์ ริชเตอร์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์ของซีแอลเอสเอ เอเชีย-แปซิฟิก มาร์เก็ต ในโตเกียวระบุ
ขณะนี้ผู้ผลิตรถยนต์เอเชียยังต้องรอดูรายละเอียดของแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าว แต่ก็แสดงความวิตกถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องการจ้างงานและยอดขายรถยนต์ด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่มีข่าวการประกาศล้มละลายดังกล่าว ราคาหุ้นของบริษัทรถยนต์ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า หรือนิสสันต่างก็ขยับขึ้นตามกัน
ในส่วนของโตโยต้านั้น บริษัทระบุว่ายังต้องการที่จะดำเนินการผลิตต่อไปในโรงงานที่ร่วมทุนกับจีเอ็มในแคลิฟอร์เนีย หลังจากที่ดำเนินงานมานานถึง 25 ปีแล้ว และได้รับแจ้งจากทางจีเอ็มแล้วเช่นกันว่า จีเอ็มก็เห็นด้วย
ทว่า แหล่งข่าวรายหนึ่งจากโตโยต้าบอกว่า เจ้าของกิจการจีเอ็มรายใหม่ ซึ่งก็คือรัฐบาลสหรัฐฯ อาจมีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้นโตโยต้าจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับ "สถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ต่างๆ นานา" โดยอาจรวมถึงการขอซื้อหุ้นของจีเอ็มในโรงงานดังกล่าว ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวผลิตรถยนต์โตโยต้าเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว
"ความหมายของการล้มละลายข้อแรกสุดก็คือว่า บริษัทจะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมและก็จะมีส่วนแบ่งตลาดให้ช่วงชิงกันเพิ่มขึ้น ซึ่งหมายความว่าคู่แข่งอย่างโตโยต้า ฮอนดา นิสสัน และฮุนได ต่างกำลังจะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่ม" คริสโตเฟอร์ ริชเตอร์ นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมรถยนต์ของซีแอลเอสเอ เอเชีย-แปซิฟิก มาร์เก็ต ในโตเกียวระบุ
ขณะนี้ผู้ผลิตรถยนต์เอเชียยังต้องรอดูรายละเอียดของแผนการปรับโครงสร้างดังกล่าว แต่ก็แสดงความวิตกถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงเรื่องการจ้างงานและยอดขายรถยนต์ด้วย อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่มีข่าวการประกาศล้มละลายดังกล่าว ราคาหุ้นของบริษัทรถยนต์ในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า ฮอนด้า หรือนิสสันต่างก็ขยับขึ้นตามกัน
ในส่วนของโตโยต้านั้น บริษัทระบุว่ายังต้องการที่จะดำเนินการผลิตต่อไปในโรงงานที่ร่วมทุนกับจีเอ็มในแคลิฟอร์เนีย หลังจากที่ดำเนินงานมานานถึง 25 ปีแล้ว และได้รับแจ้งจากทางจีเอ็มแล้วเช่นกันว่า จีเอ็มก็เห็นด้วย
ทว่า แหล่งข่าวรายหนึ่งจากโตโยต้าบอกว่า เจ้าของกิจการจีเอ็มรายใหม่ ซึ่งก็คือรัฐบาลสหรัฐฯ อาจมีความคิดเห็นเป็นอย่างอื่น ดังนั้นโตโยต้าจึงจำเป็นต้องเตรียมตัวรับมือกับ "สถานการณ์ที่อาจเป็นไปได้ต่างๆ นานา" โดยอาจรวมถึงการขอซื้อหุ้นของจีเอ็มในโรงงานดังกล่าว ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวผลิตรถยนต์โตโยต้าเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว