"สมิธโซเนียน" เชิญชวนผู้คนทั่วโลกบันทึกเรื่องราวของพืชและสัตว์ ลงใน "เอนไซโคลพีเดีย ออฟ ไลฟ์" โดยบรรดานักวิทยาศาสตร์จะใช้ข้อมูลเหล่านี้ ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพ ไปพร้อมๆ กับคนทั่วไปที่ก็ได้รับโอกาสให้เข้าร่วมสังเกตสิ่งมีชีวิตในหอสังเกตการณ์ออนไลน์ เชื่อมั่นจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชากรโลก
โครงการสารานุกรมสิ่งมีชีวิต หรือ อีโอแอล (Encyclopedia of Life: EOL) ของสถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) แหล่งศึกษาวิจัยรวมทั้งพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ลอนดอน (Natural History Museum in London) สหราชอาณาจักร จัดงานประชุมเรื่อง "อี-ไบโอสเฟียร์" (e-Biosphere) ระหว่างวันที่ 1-3 มิ.ย.52 ในกรุงลอนดอน โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีกว่า 400 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลกร่วมประชุม และวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกผ่านทางสารานุกรมออนไลน์
เจมส์ เอ็ดเวิร์ดส์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นรวม 10 ปี ซึ่งต้องอาศัยผู้คนจากทั่วโลกหลายล้านคนช่วยในส่วนของการจัดหาข้อมูลในระยะยาว ซึ่งหลายองค์กรที่อยู่ในเครือข่ายได้ร่วมกันทำงานในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพืชและสัตว์หลายพันชนิด เพื่อให้ค้นเจอได้ในจุดเดียว (one-stop) โดยใช้ชื่อว่า "หอสังเกตการณ์เสมือนจริง" (virtual Observatory) ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบการเฝ้าระวัง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังมีประชาชนทั่วไปในหลายประเทศได้เข้าร่วมบันทึกเหตุการณ์ และเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในหอสังเกตการณ์เสมือนจริง ผ่านทางอินเทอร์เน็ตกันบ้างแล้ว เช่น การพบเห็นนกหายากหลายชนิดในแคนาดา, วันที่ดอกไม้ชนิดต่างๆ จะเริ่มผลิบานในฤดูใบไม้ผลิของออสเตรเลีย เป็นต้น
โครงการสารานุกรมสิ่งมีชีวิต หรือ อีโอแอล (Encyclopedia of Life: EOL) ของสถาบันสมิธโซเนียน (Smithsonian Institution) แหล่งศึกษาวิจัยรวมทั้งพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ ในกรุงวอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ลอนดอน (Natural History Museum in London) สหราชอาณาจักร จัดงานประชุมเรื่อง "อี-ไบโอสเฟียร์" (e-Biosphere) ระหว่างวันที่ 1-3 มิ.ย.52 ในกรุงลอนดอน โดยมีผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านชีววิทยาและเทคโนโลยีกว่า 400 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลกร่วมประชุม และวางแผนเกี่ยวกับการดำเนินโครงการเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกผ่านทางสารานุกรมออนไลน์
เจมส์ เอ็ดเวิร์ดส์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้มีระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นรวม 10 ปี ซึ่งต้องอาศัยผู้คนจากทั่วโลกหลายล้านคนช่วยในส่วนของการจัดหาข้อมูลในระยะยาว ซึ่งหลายองค์กรที่อยู่ในเครือข่ายได้ร่วมกันทำงานในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพืชและสัตว์หลายพันชนิด เพื่อให้ค้นเจอได้ในจุดเดียว (one-stop) โดยใช้ชื่อว่า "หอสังเกตการณ์เสมือนจริง" (virtual Observatory) ซึ่งคล้ายคลึงกับระบบการเฝ้าระวัง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังมีประชาชนทั่วไปในหลายประเทศได้เข้าร่วมบันทึกเหตุการณ์ และเรื่องราวของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ในหอสังเกตการณ์เสมือนจริง ผ่านทางอินเทอร์เน็ตกันบ้างแล้ว เช่น การพบเห็นนกหายากหลายชนิดในแคนาดา, วันที่ดอกไม้ชนิดต่างๆ จะเริ่มผลิบานในฤดูใบไม้ผลิของออสเตรเลีย เป็นต้น