นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง "เสียงสะท้อนของผู้หญิงไทย ต่อการเมืองกับสิทธิผู้หญิง และสื่อมวลชนของสังคมไทย" กรณีศึกษาตัวอย่างผู้หญิงไทยอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี จันทบุรี ราชบุรี เชียงใหม่ เชียงราย กำแพงเพชร บุรีรัมย์ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด สกลนคร ชุมพร พัทลุงและสงขลา จำนวน 1,355 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 20-30 พฤษภาคม 2552 พบว่า กลุ่มผู้หญิงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.1 เห็นว่า นายกรัฐมนตรีควรมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ในขณะที่เพียงร้อยละ 8.4 เห็นว่าควรผ่านกระบวนการอย่างอื่น แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มผู้หญิงให้คะแนนว่า ประเทศไทยได้ดำเนินการปกครองตามความต้องการของประชาชนคนไทยได้อย่างแท้จริงมากน้อยเพียงไร พบว่า จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ค่าคะแนนเฉลี่ยได้เพียง 5.50 คะแนน
กลุ่มผู้หญิงร้อยละ 88.1 ระบุให้ความสำคัญต่อการที่ผู้หญิงควรมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย รองลงมาคือ ร้อยละ 80.7 เห็นว่าควรมีรัฐมนตรีหญิงในรัฐบาลมากขึ้น ร้อยละ 79.2 เห็นว่าควรมี ผู้หญิง ในรัฐสภาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 76.2 ระบุ คนเชื้อชาติต่างๆ ในสังคมไทยควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เช่นเรื่อง การทำงาน การศึกษา และการเข้าถึงระบบบริการด้านสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น และร้อยละ 72.1 ระบุสื่อมวลชนควรมีอิสระในการเสนอข่าวและความคิดได้โดยรัฐบาลไม่สามารถเข้ามาควบคุม
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า เมื่อเปรียบเทียบตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับสิทธิที่ผู้ชายได้รับจากสังคม มีเพียงร้อยละ 1.6 ที่เห็นว่าผู้หญิงมีสิทธิมากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ร้อยละ 49.3 เห็นว่าผู้หญิงไทยมีสิทธิเพิ่มขึ้นมาก แต่ร้อยละ 33.4 เห็นว่าผู้หญิงมีสิทธิเพิ่มขึ้นบ้างเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 7.8 เห็นว่าเหมือนเดิม
ผู้หญิงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เห็นว่ารัฐบาลควรพยายามให้มากขึ้นที่จะเข้ามาดูแลป้องกันไม่ให้มีการดูถูก เพศหญิงในสังคมไทย ในขณะที่ร้อยละ 7.1 เห็นว่า รัฐบาลพยายามอย่างเพียงพอแล้ว และร้อยละ 16.5 ไม่ทราบ เมื่อถามถึงสิทธิการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน พบว่า ร้อยละ 45.8 เห็นว่า สื่อมวลชนมีสิทธิเสนอข่าวใดๆ โดยปราศจากการควบคุมของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 37.3 เห็นว่า รัฐบาลมีสิทธิห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวที่กระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง ที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างผู้หญิงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.6 เห็นว่า คนไทยควรมีสิทธิที่จะอ่านข้อมูลข่าวสารอะไรก็ได้บนอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ร้อยละ 9.5 เห็นว่ารัฐบาลควรมีสิทธิจะห้ามคนไทยเข้าถึงข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต
กลุ่มผู้หญิงร้อยละ 88.1 ระบุให้ความสำคัญต่อการที่ผู้หญิงควรมีสิทธิเท่าเทียมกับผู้ชาย รองลงมาคือ ร้อยละ 80.7 เห็นว่าควรมีรัฐมนตรีหญิงในรัฐบาลมากขึ้น ร้อยละ 79.2 เห็นว่าควรมี ผู้หญิง ในรัฐสภาเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 76.2 ระบุ คนเชื้อชาติต่างๆ ในสังคมไทยควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน เช่นเรื่อง การทำงาน การศึกษา และการเข้าถึงระบบบริการด้านสุขภาพถ้วนหน้า เป็นต้น และร้อยละ 72.1 ระบุสื่อมวลชนควรมีอิสระในการเสนอข่าวและความคิดได้โดยรัฐบาลไม่สามารถเข้ามาควบคุม
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจพบว่า เมื่อเปรียบเทียบตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับสิทธิที่ผู้ชายได้รับจากสังคม มีเพียงร้อยละ 1.6 ที่เห็นว่าผู้หญิงมีสิทธิมากกว่าผู้ชาย ในขณะที่ร้อยละ 49.3 เห็นว่าผู้หญิงไทยมีสิทธิเพิ่มขึ้นมาก แต่ร้อยละ 33.4 เห็นว่าผู้หญิงมีสิทธิเพิ่มขึ้นบ้างเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 7.8 เห็นว่าเหมือนเดิม
ผู้หญิงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 76.4 เห็นว่ารัฐบาลควรพยายามให้มากขึ้นที่จะเข้ามาดูแลป้องกันไม่ให้มีการดูถูก เพศหญิงในสังคมไทย ในขณะที่ร้อยละ 7.1 เห็นว่า รัฐบาลพยายามอย่างเพียงพอแล้ว และร้อยละ 16.5 ไม่ทราบ เมื่อถามถึงสิทธิการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน พบว่า ร้อยละ 45.8 เห็นว่า สื่อมวลชนมีสิทธิเสนอข่าวใดๆ โดยปราศจากการควบคุมของรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 37.3 เห็นว่า รัฐบาลมีสิทธิห้ามสื่อมวลชนเสนอข่าวที่กระทบต่อความมั่นคงทางการเมือง ที่น่าสนใจคือ ตัวอย่างผู้หญิงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.6 เห็นว่า คนไทยควรมีสิทธิที่จะอ่านข้อมูลข่าวสารอะไรก็ได้บนอินเตอร์เน็ต ในขณะที่ร้อยละ 9.5 เห็นว่ารัฐบาลควรมีสิทธิจะห้ามคนไทยเข้าถึงข้อมูลข่าวสารบนอินเตอร์เน็ต