นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออกเดือนเมษายน 2552 มูลค่า 10,428.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.1 เพราะสินค้าส่งออกลดลงทุกหมวด โดยเฉพาะสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 24.4 อุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 25.5 และสินค้าอื่นๆ ลดลงร้อยละ 29.4 เนื่องจากกำลังซื้อในตลาดโลกลดลง มีการต่อรองราคามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ตลาดต้องการและส่งออกได้มากขึ้น เช่น กุ้งสดแช่แข็ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 น้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5 และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังร้อยละ 4.2
โดยตลาดหลักสำหรับการส่งออกยังลดลงในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2551 คือ ลดลงร้อยละ 32 ขณะที่ตลาดใหม่ส่งออกลดลงร้อยละ 19.5 โดยยุโรปลดลงร้อยละ 35.1 อาเซียนร้อยละ 33.4 ญี่ปุ่น ร้อยละ 29.8 และสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.7 ทำให้การส่งออกใน 4 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 21.9 คือ มีมูลค่า 44,216 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกในเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 23.06
ส่วนการนำเข้าในเดือนเมษายนมีมูลค่า 9,833.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.3 โดยสินค้าสำคัญมีการนำเข้าลดลงทุกหมวดสินค้า โดยกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 54.3 โดยเฉพาะน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 5 สินค้าทุนลดลงร้อยละ 26.8 เช่น เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สำหรับสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 34.6 ทำให้ช่วง 4 เดือนแรกมีการนำเข้ามีมูลค่า 36,566.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.3
โดยตลาดหลักสำหรับการส่งออกยังลดลงในอัตราสูงอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2551 คือ ลดลงร้อยละ 32 ขณะที่ตลาดใหม่ส่งออกลดลงร้อยละ 19.5 โดยยุโรปลดลงร้อยละ 35.1 อาเซียนร้อยละ 33.4 ญี่ปุ่น ร้อยละ 29.8 และสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 28.7 ทำให้การส่งออกใน 4 เดือนแรกของปี 2552 ลดลงร้อยละ 21.9 คือ มีมูลค่า 44,216 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกในเดือนมีนาคมลดลงร้อยละ 23.06
ส่วนการนำเข้าในเดือนเมษายนมีมูลค่า 9,833.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 36.3 โดยสินค้าสำคัญมีการนำเข้าลดลงทุกหมวดสินค้า โดยกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ 54.3 โดยเฉพาะน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 5 สินค้าทุนลดลงร้อยละ 26.8 เช่น เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สำหรับสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 34.6 ทำให้ช่วง 4 เดือนแรกมีการนำเข้ามีมูลค่า 36,566.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.3