นายอดุลย์ มูซอ สาธารณสุขอำเภอสุไหงปาดี กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี ว่า มีแนวโน้มลดลง โดยตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา พบผู้ป่วยจำนวน 68 ราย และเมื่อสำรวจครั้งล่าสุดในเดือนพฤษภาคม มีผู้ป่วยกลุ่มเดิมเหลือเพียง 19 ราย และมีรายใหม่เพิ่มขึ้น 6 รายเท่านั้น ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การแพร่ระบาดลดลง คือการปฏิบัติงานตามมาตรการเชิงรุก โดยได้รับการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการลงพื้นที่จากนายจำนัล เหมือนดำ นายอำเภอสุไหงปาดี และเจ้าหน้าที่ อสม. ซึ่งมีการกำหนดให้แต่ละคนดูแลประชาชนในพื้นที่ 15-20 ครัวเรือน ต่อ อสม.1 คน และลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 4 ครั้งต่อเดือน จึงทำให้ประสบความสำเร็จในการลดการแพร่ระบาดลงได้กว่าร้อยละ 30
ด้านนายมูหะมะ สาลาแม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปูโย๊ะ ขานรับการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ หลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการร่วมลดการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในทุกพื้นที่ โดยได้มีการตั้งงบประมาณสำหรับดำเนินการในเรื่องของโรคชิคุนกุนยาเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 100,000 บาท ทั้งการจัดซื้ออุปกรณ์และตัวยาในการฉีดพ่น การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคตามแหล่งชุมชน การให้ค่าตอบแทนเป็นพิเศษสำหรับ อสม.ที่เข้ามาปฏิบัติงาน และให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ โดยวางกรอบการทำงาน เน้นให้ทุกฝ่ายร่วมกันทำงานเป็นทีม เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในพื้นที่โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ในปัจจุบันสำหรับพื้นที่ ต.ปูโย๊ะ พบผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาจำนวน 14 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีกว่า 5,000 คน และยังไม่พบการเพิ่มของจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่แต่อย่างใด จึงถือว่าสถานการณ์ยังไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นที่พบการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว
ด้านนายมูหะมะ สาลาแม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลปูโย๊ะ ขานรับการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ หลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขอความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการร่วมลดการแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในทุกพื้นที่ โดยได้มีการตั้งงบประมาณสำหรับดำเนินการในเรื่องของโรคชิคุนกุนยาเป็นกรณีพิเศษ จำนวน 100,000 บาท ทั้งการจัดซื้ออุปกรณ์และตัวยาในการฉีดพ่น การจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์การป้องกันโรคตามแหล่งชุมชน การให้ค่าตอบแทนเป็นพิเศษสำหรับ อสม.ที่เข้ามาปฏิบัติงาน และให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ โดยวางกรอบการทำงาน เน้นให้ทุกฝ่ายร่วมกันทำงานเป็นทีม เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในพื้นที่โดยเร็วที่สุด
ทั้งนี้ ในปัจจุบันสำหรับพื้นที่ ต.ปูโย๊ะ พบผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาจำนวน 14 ราย จากจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีกว่า 5,000 คน และยังไม่พบการเพิ่มของจำนวนผู้ป่วยในพื้นที่แต่อย่างใด จึงถือว่าสถานการณ์ยังไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นที่พบการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว