โลกทำท่าจะต้องประสบกับข้อพิพาทอ้างสิทธิ์เหนือพื้นมหาสมุทรจำนวนมากมาย ตั้งแต่แถบทะเลจีนใต้ไปจนถึงขั้วโลกเหนือ ภายหลังจากครบเส้นตายวันที่ 13 พฤษภาคม ซึ่งสหประชาชาติกำหนดให้แต่ละประเทศ ทำการอ้างสิทธิเพื่อที่จะได้วางหลักเกณฑ์ในการแก้ปัญหาเขตแดนทางทะเลนี้
ภายในวันพุธ(13)ที่ผ่านมา บรรดารัฐชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่จะต้องขีดเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป หรือก็คือพื้นที่นอกชายฝั่งที่เป็นเขตน้ำตื้น ว่าของตนมีขอบเขตแค่ไหน และยื่นเสนอต่อคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งของสหประชาชาติ การกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ก็คือการขีดวงพื้นที่เพื่อการอ้างสิทธิต่างๆ ของประเทศชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในน้ำมันและก๊าซ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตใต้พื้นสมุทร
“นี่เป็นการสร้างหลักเกณฑ์ครั้งสำคัญด้านเขตแดนในมหาสมทุร และก็นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแผนที่โลกเลยทีเดียว” ฮาราลด์ เบรกเก เจ้าหน้าที่ชาวนอรเวย์ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการด้านขอบเขตของไหล่ทวีปของสหประชาชาติกล่าว
“มีหลายประเทศทีเดียวส่งพื้นที่เขตไหล่ทวีปซึ่งทับหรือล้ำเกินกันไปมา” เขาบอก
เส้นตายวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 นี้ กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2004 แล้ว นับจนถึงวันอังคาร(12)มี 48 ประเทศที่ยื่นอ้างสิทธิ์ทุกอย่างเต็มที่ตามที่กำหนดเอาไว้แล้ว ส่วนอีกหลายสิบประเทศได้เริ่มส่งรายละเอียดขั้นต้นเข้ามาเพื่อให้ทันเส้นตาย
รัสเซียได้แสดงสิทธิของตนเองด้วยวิธีที่ชัดเจนกว่าประเทศอื่น ๆโดยการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็ก ลงไปปักธงที่พื้นสมุทรใต้ขั้วโลกเหนือเมื่อปี 2007 กระนั้น มันก็เป็นเขตเดียวกับที่เดนมาร์กอ้างว่าเป็นของตนเอง
และการส่งเอกสารอ้างสิทธิเหนือพื้นสมุทรของหลายๆ ประเทศ แท้ที่จริงแล้วก็เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงข้อพิพาทที่ยังคงดำรงอยู่ระหว่างหลาย ๆประเทศ เช่น ระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างจีนและหลายประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้ และระหว่างอังกฤษและอาร์เจนตินาเหนือหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ในมหาสมุทรแอตแลนติคใต้
ภายในวันพุธ(13)ที่ผ่านมา บรรดารัฐชายฝั่งทะเลส่วนใหญ่จะต้องขีดเส้นกำหนดเขตไหล่ทวีป หรือก็คือพื้นที่นอกชายฝั่งที่เป็นเขตน้ำตื้น ว่าของตนมีขอบเขตแค่ไหน และยื่นเสนอต่อคณะกรรมาธิการชุดหนึ่งของสหประชาชาติ การกำหนดเขตไหล่ทวีปนี้ก็คือการขีดวงพื้นที่เพื่อการอ้างสิทธิต่างๆ ของประเทศชาติของตน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในน้ำมันและก๊าซ ตลอดจนสิ่งมีชีวิตใต้พื้นสมุทร
“นี่เป็นการสร้างหลักเกณฑ์ครั้งสำคัญด้านเขตแดนในมหาสมทุร และก็นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแผนที่โลกเลยทีเดียว” ฮาราลด์ เบรกเก เจ้าหน้าที่ชาวนอรเวย์ซึ่งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการด้านขอบเขตของไหล่ทวีปของสหประชาชาติกล่าว
“มีหลายประเทศทีเดียวส่งพื้นที่เขตไหล่ทวีปซึ่งทับหรือล้ำเกินกันไปมา” เขาบอก
เส้นตายวันที่ 13 พฤษภาคม 2552 นี้ กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2004 แล้ว นับจนถึงวันอังคาร(12)มี 48 ประเทศที่ยื่นอ้างสิทธิ์ทุกอย่างเต็มที่ตามที่กำหนดเอาไว้แล้ว ส่วนอีกหลายสิบประเทศได้เริ่มส่งรายละเอียดขั้นต้นเข้ามาเพื่อให้ทันเส้นตาย
รัสเซียได้แสดงสิทธิของตนเองด้วยวิธีที่ชัดเจนกว่าประเทศอื่น ๆโดยการใช้เรือดำน้ำขนาดเล็ก ลงไปปักธงที่พื้นสมุทรใต้ขั้วโลกเหนือเมื่อปี 2007 กระนั้น มันก็เป็นเขตเดียวกับที่เดนมาร์กอ้างว่าเป็นของตนเอง
และการส่งเอกสารอ้างสิทธิเหนือพื้นสมุทรของหลายๆ ประเทศ แท้ที่จริงแล้วก็เป็นการตอกย้ำให้เห็นถึงข้อพิพาทที่ยังคงดำรงอยู่ระหว่างหลาย ๆประเทศ เช่น ระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซียในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างจีนและหลายประเทศเพื่อนบ้านในทะเลจีนใต้ และระหว่างอังกฤษและอาร์เจนตินาเหนือหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ในมหาสมุทรแอตแลนติคใต้