นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เด็กนักเรียนในระดับก่อนอนุบาล อนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ได้รับประทานอาหารกลางวันเต็ม 100เปอร์เซ็นต์จากร้อยละ 60 โดยค่าอาหารหัวละ 10 บาทต่อวัน ปรับเพิ่มเป็น 13 บาทต่อวัน เริ่มปีงบประมาณ 2553 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ให้การช่วยเหลืองบประมาณดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี ยังได้อนุมัติการกำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีมติเห็นชอบให้กำหนดราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงานกิโลกรัมละ 16.50 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน และกำหนดราคากลางนมโรงเรียนดังนี้ 1. นมพาสเจอร์ไรส์ 6.20 บาท นมยูเอชทีชนิดกล่องกล่องละ 7.75 บาท และนมยูเอชทีชนิดซอง ซองละ 7.45 บาท โดยให้มีผลในภาคเรียนที่ 1 ปี 2552 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังรับทราบการเช่าพื้นที่อาคารศูนย์รวมการจัดการด้านพลังงานของประเทศ และหน่วยงานในสังกัด ทั้งนี้จะเป็นการเช่าพื้นที่ 27,000 ตารางเมตร โดยจะเช่าตั้งแต่ปี 2553-2555 วงเงินงบประมาณ 447.93 ล้านบาท และเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อสัญญาเงินกู้จำนวน 800 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไปอีก 1 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
ทั้งนี้ทางกระทรวงคมนาคม ให้เหตุผลว่า เพื่อใช้เป็นเงินสดสำรองกรณีประสบปัญหาขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากปีนี้ได้มีการคาดการณ์ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. จะมีผลประกอบการขาดทุน 11,536 ล้านบาท
ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย ประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ให้การช่วยเหลืองบประมาณดังกล่าวด้วย
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรี ยังได้อนุมัติการกำหนดราคารับซื้อน้ำนมดิบ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยมีมติเห็นชอบให้กำหนดราคาน้ำนมดิบหน้าโรงงานกิโลกรัมละ 16.50 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน และกำหนดราคากลางนมโรงเรียนดังนี้ 1. นมพาสเจอร์ไรส์ 6.20 บาท นมยูเอชทีชนิดกล่องกล่องละ 7.75 บาท และนมยูเอชทีชนิดซอง ซองละ 7.45 บาท โดยให้มีผลในภาคเรียนที่ 1 ปี 2552 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี ยังรับทราบการเช่าพื้นที่อาคารศูนย์รวมการจัดการด้านพลังงานของประเทศ และหน่วยงานในสังกัด ทั้งนี้จะเป็นการเช่าพื้นที่ 27,000 ตารางเมตร โดยจะเช่าตั้งแต่ปี 2553-2555 วงเงินงบประมาณ 447.93 ล้านบาท และเห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ต่อสัญญาเงินกู้จำนวน 800 ล้านบาท จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ต่อไปอีก 1 ปี โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน
ทั้งนี้ทางกระทรวงคมนาคม ให้เหตุผลว่า เพื่อใช้เป็นเงินสดสำรองกรณีประสบปัญหาขาดเงินหมุนเวียนเนื่องจากปีนี้ได้มีการคาดการณ์ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. จะมีผลประกอบการขาดทุน 11,536 ล้านบาท