ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านสาธารณสุขอาเซียนร่วมกับชาติที่เข้าร่วมการประชุม คือ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ใช้เวลานานกว่า 7 ชั่วโมง ทั้งในช่วงเช้าและช่วงบ่ายในการหารือถึงมาตรการที่จะใช้ในการป้องกันการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 รวมทั้งใช้เวลาในช่วงบ่ายในการหาถ้อยคำที่จะบรรจุลงในร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีสาธารณสุขที่จะลงนามในวันพรุ่งนี้
ร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติของชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุม เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายในภูมิภาคนี้
นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ถึงกรอบที่จะนำเสนอต่อรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนในวันพรุ่งนี้ โดยระบุว่า ที่ประชุมได้ข้อตกลงความร่วมมือในหลายด้าน อาทิ การปรับปรุงระบบเฝ้าระวัง การดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้น การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันโรคดังกล่าว
นอกจากนี้ แต่ละประเทศจะกลับไปทบทวนแผนการรับมือการป้องกันการแพร่ระบาด โดยใช้ฐานการร่วมมือการป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนเคยวางมาตรการร่วมกันมาก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2548 นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก รวมทั้งจะขอความร่วมมือให้ประเทศที่พบผู้ติดเชื้อ เช่น จีน และเกาหลีใต้ คัดกรองผู้โดยสารขาออก (Exit Screening) ซึ่งมาตรการที่มาก่อนหน้านี้มีเพียงแค่การคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าเท่านั้น ดังนั้นในการคัดกรองผู้โดยสารขาออก จะช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญ ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรจะระบุพื้นที่การระบาดเป็นพื้นที่เฉพาะ ไม่ควรเหมารวมทั้งประเทศ เพราะจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศและนักท่องเที่ยว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ยกตัวอย่างเช่น หากพบผู้ป่วยรายใหม่ที่ติดเชื้อในเกาหลีใต้ ก็ให้ระบุพื้นที่ไปเลยว่ามีการพบผู้ป่วยในกรุงโซล แทนที่จะระบุว่ามีการพบผู้ติดเชื้อในเกาหลีใต้
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมเห็นด้วยว่าประเทศในภูมิภาคที่มีศักยภาพในด้านเทคโนโลยี ควรถ่ายทอดให้กับประเทศที่มีความสามารถน้อยกว่า แต่ในกรณีนี้ยังติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ยังมีการพูดคุยเรื่องการซักซ้อมการกระจายยาเพื่อส่งถึงมือผู้ป่วยให้เร็วที่สุด แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลจำนวนยาในประเทศต่างๆ ที่เก็บสต๊อกไว้ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการเพิ่มคลังยาในภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันภูมิภาคอาเซียนมีการเก็บสะสมยาโอเซลทามิเวียร์อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์เพียงแห่งเดียว จำนวน 5 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าไม่เพียงพอหากมีการระบาดจริง เพราะภูมิภาคนี้มีประชาชนอาศัยอยู่ถึง 500 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จะนำรายละเอียดในการปฏิบัติไปหารืออีกครั้ง เพื่อให้รัฐมนตรีทั้ง 13 ประเทศ ลงนามรับรองเห็นตามที่ประชุมเสนอ
ก่อนหน้านี้ ธนาคารโลก ระบุว่า ไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับชาติที่พบการระบาดของโรคได้ เพราะยังเร็วเกินไป แต่ธนาคารโลกจัดตั้งกองทุนและพร้อมสนับสนุนการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแล้ว ส่วนวัคซีนป้องกันโรคนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะสำเร็จเมื่อใด แต่ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เคยประกาศไว้แล้วว่าน่าจะเสร็จในช่วงเดือนกันยายน และขณะนี้ไทยก็ได้รับตัวอย่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ H1N1 หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งเป็นเชื้อต้นแบบ มาจากองค์การอนามัยโลก เพื่อจะใช้ในการพัฒนาวัคซีนและเปรียบเทียบเชื้อของผู้ต้องสงสัยได้แล้ว
ในแถลงการณ์ร่วมที่จะมีการนำเสนอในวันพรุ่งนี้ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดย 6 ข้อจะเป็นการระบุถึงความร่วมมือของแต่ละประเทศ ส่วนที่เหลือจะเป็นความร่วมมือในภูมิภาค รวมทั้งข้อเรียกร้องที่มีไปยังองค์การอนามัยโลก รวมถึง CDC ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดโรคของสหรัฐฯ ที่กำลังดูแลเรื่องการผลิตวัคซีนด้วย
ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาร่วมในการเปิดการประชุมในเวลาประมาณ 08.00 น. เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญในการป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่โรงแรมดุสิตธานี
ร่างแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว จะเป็นแนวทางในการปฏิบัติของชาติต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุม เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายในภูมิภาคนี้
นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุม ถึงกรอบที่จะนำเสนอต่อรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนในวันพรุ่งนี้ โดยระบุว่า ที่ประชุมได้ข้อตกลงความร่วมมือในหลายด้าน อาทิ การปรับปรุงระบบเฝ้าระวัง การดูแลรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้น การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันโรคดังกล่าว
นอกจากนี้ แต่ละประเทศจะกลับไปทบทวนแผนการรับมือการป้องกันการแพร่ระบาด โดยใช้ฐานการร่วมมือการป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนเคยวางมาตรการร่วมกันมาก่อนหน้านี้ในช่วงปี 2548 นับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส และไข้หวัดนก รวมทั้งจะขอความร่วมมือให้ประเทศที่พบผู้ติดเชื้อ เช่น จีน และเกาหลีใต้ คัดกรองผู้โดยสารขาออก (Exit Screening) ซึ่งมาตรการที่มาก่อนหน้านี้มีเพียงแค่การคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าเท่านั้น ดังนั้นในการคัดกรองผู้โดยสารขาออก จะช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญ ที่ประชุมเห็นตรงกันว่า ควรจะระบุพื้นที่การระบาดเป็นพื้นที่เฉพาะ ไม่ควรเหมารวมทั้งประเทศ เพราะจมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนในประเทศและนักท่องเที่ยว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ ยกตัวอย่างเช่น หากพบผู้ป่วยรายใหม่ที่ติดเชื้อในเกาหลีใต้ ก็ให้ระบุพื้นที่ไปเลยว่ามีการพบผู้ป่วยในกรุงโซล แทนที่จะระบุว่ามีการพบผู้ติดเชื้อในเกาหลีใต้
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมเห็นด้วยว่าประเทศในภูมิภาคที่มีศักยภาพในด้านเทคโนโลยี ควรถ่ายทอดให้กับประเทศที่มีความสามารถน้อยกว่า แต่ในกรณีนี้ยังติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ยังมีการพูดคุยเรื่องการซักซ้อมการกระจายยาเพื่อส่งถึงมือผู้ป่วยให้เร็วที่สุด แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลจำนวนยาในประเทศต่างๆ ที่เก็บสต๊อกไว้ รวมทั้งความเป็นไปได้ในการเพิ่มคลังยาในภูมิภาคอาเซียน
ปัจจุบันภูมิภาคอาเซียนมีการเก็บสะสมยาโอเซลทามิเวียร์อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์เพียงแห่งเดียว จำนวน 5 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าไม่เพียงพอหากมีการระบาดจริง เพราะภูมิภาคนี้มีประชาชนอาศัยอยู่ถึง 500 ล้านคน อย่างไรก็ตาม จะนำรายละเอียดในการปฏิบัติไปหารืออีกครั้ง เพื่อให้รัฐมนตรีทั้ง 13 ประเทศ ลงนามรับรองเห็นตามที่ประชุมเสนอ
ก่อนหน้านี้ ธนาคารโลก ระบุว่า ไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับชาติที่พบการระบาดของโรคได้ เพราะยังเร็วเกินไป แต่ธนาคารโลกจัดตั้งกองทุนและพร้อมสนับสนุนการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแล้ว ส่วนวัคซีนป้องกันโรคนั้นยังไม่ชัดเจนว่าจะสำเร็จเมื่อใด แต่ก่อนหน้านี้สหรัฐฯ เคยประกาศไว้แล้วว่าน่าจะเสร็จในช่วงเดือนกันยายน และขณะนี้ไทยก็ได้รับตัวอย่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ H1N1 หรือ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งเป็นเชื้อต้นแบบ มาจากองค์การอนามัยโลก เพื่อจะใช้ในการพัฒนาวัคซีนและเปรียบเทียบเชื้อของผู้ต้องสงสัยได้แล้ว
ในแถลงการณ์ร่วมที่จะมีการนำเสนอในวันพรุ่งนี้ มีทั้งหมด 13 ข้อ โดย 6 ข้อจะเป็นการระบุถึงความร่วมมือของแต่ละประเทศ ส่วนที่เหลือจะเป็นความร่วมมือในภูมิภาค รวมทั้งข้อเรียกร้องที่มีไปยังองค์การอนามัยโลก รวมถึง CDC ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมการแพร่ระบาดโรคของสหรัฐฯ ที่กำลังดูแลเรื่องการผลิตวัคซีนด้วย
ขณะที่ในวันพรุ่งนี้ นายกรัฐมนตรีจะเดินทางมาร่วมในการเปิดการประชุมในเวลาประมาณ 08.00 น. เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญในการป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่โรงแรมดุสิตธานี