นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการประจำโครงการศึกษา และเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม แถลงผลการสำรวจการใช้ภาษาข่าวหนังสือพิมพ์ ในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ในวันที่ 14 - 18 เมษายน ที่ผ่านมา โดยศึกษาจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน ไทยโพสต์ และ ASTVผู้จัดการ รายวัน ซึ่งพบว่าภาษาข่าวหนังสือพิมพ์ได้สะท้อนความรุนแรง โดยแสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการกระทำของกลุ่ม นปช. ที่ใช้ความรุนแรงตามเหตุการณ์ที่พบ และมี
ลักษณะประณามไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่ใช้ความรุนแรง ที่พบมากในพาดหัวข่าวหลัก ความนำ พาดของข่าวรอง
ในขณะที่ภาษาเนื้อหาข่าวค่อนข้างปกติ มีลักษณะบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ มีส่วนน้อยที่แสดง
ความรู้สึกลงไปในเนื้อหาข่าว
นายธาม ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กลุ่มคำที่ใช้เรียกฝ่ายการเมือง พบว่ากลุ่มคำที่พบในภาษาทางการเมืองมีลักษณะรุนแรง มุ่งประณามการกระทำอันเกิดจากบุคคลนั้นๆ แต่ขณะที่กลุ่มคำที่ใช้เรียกรัฐบาลกลับไม่มีการใส่สีสัน เช่น กลุ่ม นปช. ได้แก่ ม็อบเสื้อแดง คนเสื้อแดง แก๊งเสื้อแดง ส่วนฝ่ายรัฐบาล แก่ได้ นายกฯ อภิสิทธิ์ โอบามาร์ค เป็นต้น
ลักษณะประณามไม่เห็นด้วยกับการกระทำที่ใช้ความรุนแรง ที่พบมากในพาดหัวข่าวหลัก ความนำ พาดของข่าวรอง
ในขณะที่ภาษาเนื้อหาข่าวค่อนข้างปกติ มีลักษณะบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งนี้ มีส่วนน้อยที่แสดง
ความรู้สึกลงไปในเนื้อหาข่าว
นายธาม ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า กลุ่มคำที่ใช้เรียกฝ่ายการเมือง พบว่ากลุ่มคำที่พบในภาษาทางการเมืองมีลักษณะรุนแรง มุ่งประณามการกระทำอันเกิดจากบุคคลนั้นๆ แต่ขณะที่กลุ่มคำที่ใช้เรียกรัฐบาลกลับไม่มีการใส่สีสัน เช่น กลุ่ม นปช. ได้แก่ ม็อบเสื้อแดง คนเสื้อแดง แก๊งเสื้อแดง ส่วนฝ่ายรัฐบาล แก่ได้ นายกฯ อภิสิทธิ์ โอบามาร์ค เป็นต้น