การบรรยายพิเศษเรื่อง "แนวนโยบายการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยอมรับว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย หรือ จีดีพี ไตรมาสแรก มีโอกาสติดลบร้อยละ 5 ซึ่งถือว่าอยู่ระดับต่ำสุดแล้ว หลังภาวะการเลิกจ้างเริ่มลดลง ส่วนหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 แต่ยังอยู่ในสถานะที่พอรับได้ สำหรับปัญหาทางการเมือง ปัจจุบันยังเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจแรงงานไทยทั่วประเทศ จำนวน 1,200 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 14-28 เมษายน พบว่า ปัจจุบันแรงงานไทยที่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท มีปัญหาค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอมากที่สุด และมีการกู้เงินนอกระบบเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 และแม้รัฐบาลจะรายงานว่า ปัญหาแรงงานมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ความเป็นจริงแรงงานส่วนใหญ่ยังวิตกกังวลและขาดความเชื่อมั่นต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้มีโอกาสการตกงานสูงถึงร้อยละ 50
นายธนวรรธน์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาทางการเมืองส่งผลให้ จีดีพี ลดลงร้อยละ 1-1.5 ทำให้ไตรมาสแรกปีนี้ จีดีพี ติดลบร้อยละ 4-4.5 และหากรัฐบาลไม่เตรียมแผนรองรับแรงงานที่จะจบการศึกษาเดือนหน้าจะส่งผลให้มีโอกาสตกงานรวม 1.2-1.3 ล้านคน
ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจแรงงานไทยทั่วประเทศ จำนวน 1,200 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 14-28 เมษายน พบว่า ปัจจุบันแรงงานไทยที่มีรายได้เดือนละ 15,000 บาท มีปัญหาค่าใช้จ่ายไม่เพียงพอมากที่สุด และมีการกู้เงินนอกระบบเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 48 และแม้รัฐบาลจะรายงานว่า ปัญหาแรงงานมีแนวโน้มชะลอตัว แต่ความเป็นจริงแรงงานส่วนใหญ่ยังวิตกกังวลและขาดความเชื่อมั่นต่อสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ทำให้มีโอกาสการตกงานสูงถึงร้อยละ 50
นายธนวรรธน์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาทางการเมืองส่งผลให้ จีดีพี ลดลงร้อยละ 1-1.5 ทำให้ไตรมาสแรกปีนี้ จีดีพี ติดลบร้อยละ 4-4.5 และหากรัฐบาลไม่เตรียมแผนรองรับแรงงานที่จะจบการศึกษาเดือนหน้าจะส่งผลให้มีโอกาสตกงานรวม 1.2-1.3 ล้านคน