การเสวนาเรื่อง "วันนี้ของ คตส.กับก้าวที่ 2 ของการพัฒนาธรรมาภิบาล" ซึ่งจัดโดยศูนย์บริการวิชาการธรรมาภิบาล โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม นายสัก กอแสงเรือง อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. สรุปคดีที่ คตส.ทำทั้งหมด 13 เรื่อง คาดว่า ปีนี้คดีที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติและคดีโครงการออกสลากพิเศษ 2 ตัว 3 ตัว หรือ หวยบนดิน ศาลจะพิจารณาแล้วเสร็จ เนื่องจากนัดวันไต่สวนแล้ว โดยขณะทำหน้าที่ ถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่ถูกยกฟ้อง
นายสัก ยังยอมรับว่า การทำงานร่วมกับอัยการสูงสุด บางครั้งมีความล่าช้า ดังนั้น อัยการสูงสุดน่าจะมีการสร้างอัยการคดีพิเศษ แยกเป็นการเฉพาะ
ขณะที่นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยอมรับว่า หลังรับคดีต่อจาก คตส.ถือเป็นงานหนักมาก และถูกจ้องโจมตีจากหลายฝ่าย พร้อมชี้แจงว่า เหตุที่บางครั้ง ป.ป.ช.ต้องใช้เวลาในการพิจารณาคดี เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารจำนวนมาก รวมถึงต้องขอข้อเท็จจริงแต่ละเรื่อง ขึ้นอยู่กับเอกสารเป็นหลัก ประกอบกับการทำงานต้องประสานหลายฝ่าย ซึ่ง ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบเอง เช่น ตรวจสอบเส้นทางของเงิน
อย่างไรก็ตาม อยากให้มีการเพิ่มกฎหมายเข้ามาดูแลข้าราชการประจำ ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ เพราะที่ผ่านมามักจะถูกกลั่นแกล้งด้วยการโยกย้าย หากไม่ให้ความร่วมมือ
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ระบุว่า กฎหมายปัจจุบันยังไม่สามารถจะตรวจสอบได้ทั้งหมด โดยเฉพาะการตรวจสอบนักการเมืองในเรื่องบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน และยอมรับว่า หลังตนเองออกมาตรวจสอบหลายบุคคล ก็มีกระแสข่าวที่อยู่ในข่ายถูกจ้องทำร้ายเช่นเดียวกัน
นายสัก ยังยอมรับว่า การทำงานร่วมกับอัยการสูงสุด บางครั้งมีความล่าช้า ดังนั้น อัยการสูงสุดน่าจะมีการสร้างอัยการคดีพิเศษ แยกเป็นการเฉพาะ
ขณะที่นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยอมรับว่า หลังรับคดีต่อจาก คตส.ถือเป็นงานหนักมาก และถูกจ้องโจมตีจากหลายฝ่าย พร้อมชี้แจงว่า เหตุที่บางครั้ง ป.ป.ช.ต้องใช้เวลาในการพิจารณาคดี เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารจำนวนมาก รวมถึงต้องขอข้อเท็จจริงแต่ละเรื่อง ขึ้นอยู่กับเอกสารเป็นหลัก ประกอบกับการทำงานต้องประสานหลายฝ่าย ซึ่ง ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบเอง เช่น ตรวจสอบเส้นทางของเงิน
อย่างไรก็ตาม อยากให้มีการเพิ่มกฎหมายเข้ามาดูแลข้าราชการประจำ ที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลักฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบ เพราะที่ผ่านมามักจะถูกกลั่นแกล้งด้วยการโยกย้าย หากไม่ให้ความร่วมมือ
ด้านนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ระบุว่า กฎหมายปัจจุบันยังไม่สามารถจะตรวจสอบได้ทั้งหมด โดยเฉพาะการตรวจสอบนักการเมืองในเรื่องบัญชีทรัพย์สิน-หนี้สิน และยอมรับว่า หลังตนเองออกมาตรวจสอบหลายบุคคล ก็มีกระแสข่าวที่อยู่ในข่ายถูกจ้องทำร้ายเช่นเดียวกัน