นายสันติ วิลาสศักดานท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. กล่าวว่า กกร.จะเรียกประชุมนัดพิเศษ เพื่อประเมินสภาวะเศรษฐกิจ หลังจากเกิดเหตุวุ่นวายทางการเมืองระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มผู้ชุมนุม โดยการประชุมจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของสมาชิก อาจจะเป็นวันที่ 16 หรือ 17 เมษายนนี้ โดยจัดขึ้นที่โรงแรมดุสิตธานี
นายสันติ กล่าวว่า สถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นนั้นจากการติดตามข่าวสาร เห็นว่าทหารสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และไม่มีการใช้ความรุนแรง และล่าสุดเห็นได้ว่ามีชาวบ้านบางส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์การยึดรถก๊าซแอลพีจีไปใช้ในการก่อเหตุด้วย
นายสันติ กล่าวถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจว่า ที่ชัดเจนแล้วคือภาคธุรกิจท่องเที่ยวและการบริโภคของประชาชนที่ลดน้อยลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ส่วนด้านการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตสำหรับจำหน่ายในประเทศ สิ่งเหล่านี้จะต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการใช้กำลังการผลิตลดลงอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 55-56 เท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตในส่วนนี้ ส่วนโรงงานที่ผลิตเพื่อส่งออก การจะขยายกำลังการผลิตหรือไม่จะขึ้นกับปัจจัยการส่งออก โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้นบ้าง แต่ในภาพรวมเชื่อว่าไตรมาสที่ 1-2 ปีนี้ การส่งออกหดตัวลงร้อยละ 15-20 การนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตและส่งออก ลดลงไปมากถึงร้อยละ 30 โดยสินค้าฟุ่มเฟื่อยมีการนำเข้าลดลงเช่นกัน
นายสันติ กล่าวว่า สถานการณ์การชุมนุมที่เกิดขึ้นนั้นจากการติดตามข่าวสาร เห็นว่าทหารสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และไม่มีการใช้ความรุนแรง และล่าสุดเห็นได้ว่ามีชาวบ้านบางส่วนที่ได้รับความเดือดร้อน ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์การยึดรถก๊าซแอลพีจีไปใช้ในการก่อเหตุด้วย
นายสันติ กล่าวถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจว่า ที่ชัดเจนแล้วคือภาคธุรกิจท่องเที่ยวและการบริโภคของประชาชนที่ลดน้อยลง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะกระตุ้นการบริโภคให้เพิ่มขึ้นได้มากน้อยเพียงใด ส่วนด้านการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตสำหรับจำหน่ายในประเทศ สิ่งเหล่านี้จะต้องเลื่อนออกไป เนื่องจากปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีการใช้กำลังการผลิตลดลงอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 55-56 เท่านั้น จึงไม่มีความจำเป็นต้องขยายกำลังการผลิตในส่วนนี้ ส่วนโรงงานที่ผลิตเพื่อส่งออก การจะขยายกำลังการผลิตหรือไม่จะขึ้นกับปัจจัยการส่งออก โดยขณะนี้เริ่มมีสัญญาณที่ดีว่าเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มดีขึ้นบ้าง แต่ในภาพรวมเชื่อว่าไตรมาสที่ 1-2 ปีนี้ การส่งออกหดตัวลงร้อยละ 15-20 การนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตและส่งออก ลดลงไปมากถึงร้อยละ 30 โดยสินค้าฟุ่มเฟื่อยมีการนำเข้าลดลงเช่นกัน