วันนี้(13 มี.ค.) หนังสือพิมพ์ The Times ของอังกฤษ ตีพิมพ์บทวิพากษ์ของ นายริชาร์ด ลอยด์ แพร์รีย์บรรณาธิการภาคพื้นเอเชีย ซึ่งเคยเป็นศิษย์ร่วมมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของไทย ก่อนหน้าที่นายอภิสิทธิ์จะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่ออกซ์ฟอร์ดในวันพรุ่งนี้ในหัวข้อ Taking on the Challenges of Democracy โดยนายแพร์รีย์ ระบุว่า ถึงแม้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของไทย จะได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองหนุ่มไฟแรงที่มีหน้าตาดี ฉลาดหลักแหลม และเป็นขวัญใจของชนชั้นกลางในกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการที่นายอภิสิทธิ์เคยเป็นอดีตนักเรียนเก่าของ Eton College โรงเรียนเอกชนชายล้วนชื่อดังระดับโลกของอังกฤษ ร่วมกับนายบอริส จอห์นสัน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนคนปัจจุบัน วัย 44 ปี ซึ่งถือเป็นเพื่อนสนิทของ นายอภิสิทธิ์ ในสมัยนั้น
แต่อย่างไรก็ตาม เสน่ห์อันน่าหลงใหลของ นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ควรที่จะนำมาเป็นปัจจัยที่เบี่ยงเบนความสนใจของประชาคมโลกจากความจริงอันน่ารังเกียจของสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้ประเทศไทยกลายสภาพจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเสรีภาพและมีเสถียรภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นประเทศที่มีความวุ่นวายและแตกแยกมากที่สุดในภูมิภาค
นายแพร์รีย์ ยังระบุในบทความชิ้นนี้ด้วยว่า ความจริงอันน่ารังเกียจของประเทศไทย รวมถึงการที่ บรรดานักเขียน นักคิด นักวิชาการ และ นักข่าว จำนวนมากต่างถูกจับเข้าคุกนานถึง 12 ปีหรือไม่ ก็ต้องหนีตายไปลี้ภัยในต่างประเทศหลังจากที่พวกเขาได้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันเบื้องสูงของไทย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย
รวมทั้งการผลักดันกลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงยานับพันคนจากพม่าที่หมดหนทาง และสิ้นหวังให้ออกไปพบกับความตายในทะเล การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยถูกบีบและกดดันให้พ้นจากอำนาจไป
ทั้งโดยน้ำมือของกองทัพและโดยน้ำมือของม็อบ และการจับกุมตัวเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์อิสระแห่งหนึ่ง ภายหลังจากการออกมายืนยันของ นายอภิสิทธิ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงว่า รัฐบาลของเขาเคารพหลักการว่าด้วยเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน
จากเหตุการณ์ทั้งหลายข้างต้น นายแพร์รีย์จึงมองว่า น่าจะไม่ค่อยเป็นการเหมาะสมนัก หาก นายอภิสิทธิ์ จะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ Taking on the Challenges of Democracy ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นประชาธิปไตยในวันพรุ่งนี้ที่ออกซ์ฟอร์ด
นายแพร์รีย์ ระบุว่า ตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็น หน.พรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2005 ได้มีการเลือกตั้ง 2 ครั้งแล้วในไทย ซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้เคยคว่ำบาตรการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี 2006 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คว้าชัยได้เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน โดยนายแพร์รีย์ ชี้ว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งชาวไทยส่วนใหญ่ได้เทใจให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ชนะการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า แทนที่จะเป็น นายอภิสิทธิ์ เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีผลงานในการเปลี่ยนชีวิตของชาวชนบทหลายล้านคนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านทางนโยบายและโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรักษาพยาบาลในราคาถูก ซึ่งช่วยให้คนที่ยากจนได้เข้าถึงการรักษาได้เป็นครั้งแรกในไทย หรือ โครงการกองทุนหมู่บ้านก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะถูกโค่นอำนาจ
ในทางกลับกัน นายแพร์รีย์มองว่า การก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ และได้รับการสนับแบบไม่ชอบธรรมจากกลุ่มที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ จนได้ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด ทั้งกองทัพ รวมทั้งพันธมิตรฯ ซึ่งพันธมิตรฯ นี้เอง ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ของไทย
ในตอนท้ายของบทวิพากษ์ นายแพร์รีย์ ระบุว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในไทยเวลานี้ ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย และถือเป็นความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น เมื่อความจริงอันน่ารังเกียจเหล่านี้มาเกิดขึ้นภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ ชายผู้ซึ่งได้ชื่อว่า มีความชาญฉลาดมีความสามารถ และมีคุณสมบัติที่ดีครบถ้วนทุกประการ ยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือ ความถูกต้องชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย
แต่อย่างไรก็ตาม เสน่ห์อันน่าหลงใหลของ นายอภิสิทธิ์ ก็ไม่ควรที่จะนำมาเป็นปัจจัยที่เบี่ยงเบนความสนใจของประชาคมโลกจากความจริงอันน่ารังเกียจของสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้ประเทศไทยกลายสภาพจากการเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเสรีภาพและมีเสถียรภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นประเทศที่มีความวุ่นวายและแตกแยกมากที่สุดในภูมิภาค
นายแพร์รีย์ ยังระบุในบทความชิ้นนี้ด้วยว่า ความจริงอันน่ารังเกียจของประเทศไทย รวมถึงการที่ บรรดานักเขียน นักคิด นักวิชาการ และ นักข่าว จำนวนมากต่างถูกจับเข้าคุกนานถึง 12 ปีหรือไม่ ก็ต้องหนีตายไปลี้ภัยในต่างประเทศหลังจากที่พวกเขาได้วิพากษ์วิจารณ์สถาบันเบื้องสูงของไทย ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของไทย
รวมทั้งการผลักดันกลุ่มผู้อพยพชาวโรฮิงยานับพันคนจากพม่าที่หมดหนทาง และสิ้นหวังให้ออกไปพบกับความตายในทะเล การที่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยถูกบีบและกดดันให้พ้นจากอำนาจไป
ทั้งโดยน้ำมือของกองทัพและโดยน้ำมือของม็อบ และการจับกุมตัวเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์อิสระแห่งหนึ่ง ภายหลังจากการออกมายืนยันของ นายอภิสิทธิ์เพียงไม่กี่ชั่วโมงว่า รัฐบาลของเขาเคารพหลักการว่าด้วยเสรีภาพ ในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน
จากเหตุการณ์ทั้งหลายข้างต้น นายแพร์รีย์จึงมองว่า น่าจะไม่ค่อยเป็นการเหมาะสมนัก หาก นายอภิสิทธิ์ จะขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อ Taking on the Challenges of Democracy ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเป็นประชาธิปไตยในวันพรุ่งนี้ที่ออกซ์ฟอร์ด
นายแพร์รีย์ ระบุว่า ตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นเป็น หน.พรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2005 ได้มีการเลือกตั้ง 2 ครั้งแล้วในไทย ซึ่งนายอภิสิทธิ์ได้เคยคว่ำบาตรการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี 2006 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ คว้าชัยได้เป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน โดยนายแพร์รีย์ ชี้ว่าผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งชาวไทยส่วนใหญ่ได้เทใจให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ให้ชนะการเลือกตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า แทนที่จะเป็น นายอภิสิทธิ์ เนื่องจาก พ.ต.ท.ทักษิณ มีผลงานในการเปลี่ยนชีวิตของชาวชนบทหลายล้านคนให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ผ่านทางนโยบายและโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรักษาพยาบาลในราคาถูก ซึ่งช่วยให้คนที่ยากจนได้เข้าถึงการรักษาได้เป็นครั้งแรกในไทย หรือ โครงการกองทุนหมู่บ้านก่อนที่ พ.ต.ท.ทักษิณ จะถูกโค่นอำนาจ
ในทางกลับกัน นายแพร์รีย์มองว่า การก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ ไม่ได้เกิดขึ้นจากเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ และได้รับการสนับแบบไม่ชอบธรรมจากกลุ่มที่ต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ จนได้ก้าวสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในที่สุด ทั้งกองทัพ รวมทั้งพันธมิตรฯ ซึ่งพันธมิตรฯ นี้เอง ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ของไทย
ในตอนท้ายของบทวิพากษ์ นายแพร์รีย์ ระบุว่า สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในไทยเวลานี้ ถือเป็นสัญญาณอันตรายต่อความเป็นประชาธิปไตยในสังคมไทย และถือเป็นความเจ็บปวดมากยิ่งขึ้น เมื่อความจริงอันน่ารังเกียจเหล่านี้มาเกิดขึ้นภายใต้การนำของ นายอภิสิทธิ์ ชายผู้ซึ่งได้ชื่อว่า มีความชาญฉลาดมีความสามารถ และมีคุณสมบัติที่ดีครบถ้วนทุกประการ ยกเว้นเพียงอย่างเดียว คือ ความถูกต้องชอบธรรมตามหลักประชาธิปไตย