นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเกณฑ์การทำและยกเลิกสัญญาซื้อ หรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท ซึ่งเดิมกำหนดให้การทำ หรือยกเลิกสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าของธนาคารพาณิชย์จะต้องขออนุญาต ธปท. และต้องมีธุรกรรมรองรับ
สาเหตุที่พิจารณาปรับเกณฑ์ดังกล่าว เพราะขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีปัญหาที่ไปขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าไว้เกินกว่า สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมารายได้จากการส่งออก รวมทั้งเม็ดเงินที่ใช้ในการนำเข้าของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารพาณิชย์ที่ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศไว้ล่วงหน้ามีต้นทุน และมีปัญหาเรื่องธุรกรรมรองรับสัญญาซื้อหรือขายล่วงหน้าที่ทำไว้ ทำให้มีธนาคารพาณิชย์ขอยกเลิกสัญญา ซึ่ง ธปท.อนุญาตให้ยกเลิกสัญญาได้ แต่ธนาคารพาณิชย์ต้องการให้เป็นแบบอัตโนมัติไม่ต้องขออนุญาต เพื่อความรวดเร็ว และขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะอนุญาตให้ในช่วงที่มีปัญหาเรื่องการนำเข้า และส่งออกชะลอตัว เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงต้องส่งมอบเงินตามสัญญาล่วงหน้า หากไม่มีการยกเลิกสัญญาที่ทำไว้โดยไม่มีธุรกรรมรองรับจริง
นางสุชาดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารพาณิชย์ยังจะร่วมกับ ธปท.จัดทำคู่มือการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทให้กับผูประกอบการรายกลางและรายย่อย (เอสเอ็มอี) เพื่อให้มีความสามารถในการบริหารจัดกร และป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน เนื่องจากในช่วงที่การส่งออกไทยชะลอตัวลงอย่างมาก ขณะเดียวกันวิกฤติการเงินโลก อาจสร้างความผันผวนให้กับการไหลเข้าออกของเงินทุนทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เกิดความผันผวนของค่าเงินบาทได้
ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ผู้ส่งออกต้องการให้อ่อนค่าเพื่อช่วยเหลือการส่งออกนั้น ข้อเท็จจริงแล้ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาทไม่ได้ขึ้นกับ ธปท.เพียงอย่างเดียว แต่ ธปท.มีนโยบายที่จะดูแลให้ค่าเงินบาทไม่ผันผวนและแข่งขันได้อยู่แล้ว
สาเหตุที่พิจารณาปรับเกณฑ์ดังกล่าว เพราะขณะนี้ ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งมีปัญหาที่ไปขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าไว้เกินกว่า สัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมารายได้จากการส่งออก รวมทั้งเม็ดเงินที่ใช้ในการนำเข้าของประเทศลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ธนาคารพาณิชย์ที่ทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศไว้ล่วงหน้ามีต้นทุน และมีปัญหาเรื่องธุรกรรมรองรับสัญญาซื้อหรือขายล่วงหน้าที่ทำไว้ ทำให้มีธนาคารพาณิชย์ขอยกเลิกสัญญา ซึ่ง ธปท.อนุญาตให้ยกเลิกสัญญาได้ แต่ธนาคารพาณิชย์ต้องการให้เป็นแบบอัตโนมัติไม่ต้องขออนุญาต เพื่อความรวดเร็ว และขณะนี้ ธปท.อยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะอนุญาตให้ในช่วงที่มีปัญหาเรื่องการนำเข้า และส่งออกชะลอตัว เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงต้องส่งมอบเงินตามสัญญาล่วงหน้า หากไม่มีการยกเลิกสัญญาที่ทำไว้โดยไม่มีธุรกรรมรองรับจริง
นางสุชาดา กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารพาณิชย์ยังจะร่วมกับ ธปท.จัดทำคู่มือการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทให้กับผูประกอบการรายกลางและรายย่อย (เอสเอ็มอี) เพื่อให้มีความสามารถในการบริหารจัดกร และป้องกันความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน เนื่องจากในช่วงที่การส่งออกไทยชะลอตัวลงอย่างมาก ขณะเดียวกันวิกฤติการเงินโลก อาจสร้างความผันผวนให้กับการไหลเข้าออกของเงินทุนทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องให้เกิดความผันผวนของค่าเงินบาทได้
ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทที่ผู้ส่งออกต้องการให้อ่อนค่าเพื่อช่วยเหลือการส่งออกนั้น ข้อเท็จจริงแล้ว ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่าเงินบาทไม่ได้ขึ้นกับ ธปท.เพียงอย่างเดียว แต่ ธปท.มีนโยบายที่จะดูแลให้ค่าเงินบาทไม่ผันผวนและแข่งขันได้อยู่แล้ว