ในการเสวนาวันสตรีสากล พ.ศ.2552 เรื่อง "กฎระเบียบข้าราชการพนักงานของรัฐกับการบังคับใช้ คุ้มครองหรือละเมิดสิทธิสตรีทางเพศ" มีนายอิสสระ สมชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นประธานเปิดงาน
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวบรรยายเรื่อง "ปัญหากฎระเบียบและการบังคับใช้ คุ้มครองหรือละเมิดสิทธิสตรีทางเพศ" ว่า หน่วยงานราชการของไทยมีการกำหนดผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย แต่พบว่ายังไม่ใช่ของจริง เพราะแต่ละองค์กรกำหนดตัวบุคคลโดยไม่มีหลักเกณฑ์ผู้ได้รับมอบงานมาแล้วก็ไม่ได้ทำอะไร ซีจีอีโอที่มีผลงานไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลายในระบบราชการ ตำแหน่งซีจีอีโอไม่ใช่ตำแหน่งทางราชการจริงๆ ความคาดหวังที่จะได้จากซีจีอีโอว่าให้ทำอะไรตอบแทนบ้างเกือบเป็นศูนย์
นายจรัญ กล่าวถึงกฎระเบียบการละเมิดสิทธิสตรีในสถานที่ทำงาน ส่วนใหญ่จะเห็นชัดเจนในภาคเอกชน แต่หน่วยงานราชการไม่ค่อยชัดเจน การละเมิดสิทธิสตรีที่ผ่านมาร้ายที่สุดกฎหมายตัดสินแค่ผิดวินัย คนที่ถูกตัดสินว่าผิดวินัยก็ยังอยู่ต่อได้ เพราะเป็นผู้มีอำนาจหรือผู้บังคับบัญชา ท้ายที่สุดทำได้เพียงรอมชอมว่ากล่าวตักเตือน ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะมีกฎหมายสำหรับการละเมิดสิทธิทางเพศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักและภารกิจแรกที่ซีจีอีโอต้องดูแล นอกจากนี้ ความผิดในฐานละเมิดสิทธิทางเพศ ผู้บังคับบัญชา หน่วยงาน บริษัท หรือกระทรวงที่ดูแลบุคคลดังกล่าว ควรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผิดนั้นด้วย
ด้านนายอิสสระ แสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดที่นายจรัญ และกล่าวว่าการละเมิดสิทธิสตรี ควรเน้นที่หัวใจนักบริหาร คนทำผิดจะผิดโดยสันดานหรือจะผิดด้วยการละเมิดกฎเกณฑ์ถือว่าไม่น่าส่งเสริม ขณะเดียวกันผู้หญิงที่อาศัยเรือนร่างในการเติบโตทางหน้าที่การงาน เห็นว่าไม่ถูกเช่นกัน
นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวบรรยายเรื่อง "ปัญหากฎระเบียบและการบังคับใช้ คุ้มครองหรือละเมิดสิทธิสตรีทางเพศ" ว่า หน่วยงานราชการของไทยมีการกำหนดผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชาย แต่พบว่ายังไม่ใช่ของจริง เพราะแต่ละองค์กรกำหนดตัวบุคคลโดยไม่มีหลักเกณฑ์ผู้ได้รับมอบงานมาแล้วก็ไม่ได้ทำอะไร ซีจีอีโอที่มีผลงานไม่ได้รับการเผยแพร่อย่างแพร่หลายในระบบราชการ ตำแหน่งซีจีอีโอไม่ใช่ตำแหน่งทางราชการจริงๆ ความคาดหวังที่จะได้จากซีจีอีโอว่าให้ทำอะไรตอบแทนบ้างเกือบเป็นศูนย์
นายจรัญ กล่าวถึงกฎระเบียบการละเมิดสิทธิสตรีในสถานที่ทำงาน ส่วนใหญ่จะเห็นชัดเจนในภาคเอกชน แต่หน่วยงานราชการไม่ค่อยชัดเจน การละเมิดสิทธิสตรีที่ผ่านมาร้ายที่สุดกฎหมายตัดสินแค่ผิดวินัย คนที่ถูกตัดสินว่าผิดวินัยก็ยังอยู่ต่อได้ เพราะเป็นผู้มีอำนาจหรือผู้บังคับบัญชา ท้ายที่สุดทำได้เพียงรอมชอมว่ากล่าวตักเตือน ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะมีกฎหมายสำหรับการละเมิดสิทธิทางเพศ ซึ่งเป็นภารกิจหลักและภารกิจแรกที่ซีจีอีโอต้องดูแล นอกจากนี้ ความผิดในฐานละเมิดสิทธิทางเพศ ผู้บังคับบัญชา หน่วยงาน บริษัท หรือกระทรวงที่ดูแลบุคคลดังกล่าว ควรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำผิดนั้นด้วย
ด้านนายอิสสระ แสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดที่นายจรัญ และกล่าวว่าการละเมิดสิทธิสตรี ควรเน้นที่หัวใจนักบริหาร คนทำผิดจะผิดโดยสันดานหรือจะผิดด้วยการละเมิดกฎเกณฑ์ถือว่าไม่น่าส่งเสริม ขณะเดียวกันผู้หญิงที่อาศัยเรือนร่างในการเติบโตทางหน้าที่การงาน เห็นว่าไม่ถูกเช่นกัน