วันนี้ทาง จ.ระยอง มีการจัดสัมมนานำเสนอผลการศึกษาธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมมาบตาพุด โดยคณะทำงานจากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.) ร่วมกับภาคี ทั้งนี้ มีความเห็นว่า แผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษใน จ.ระยอง พ.ศ.2550 -2554 ซึ่งประกาศใช้แทนการประกาศเขตควบคุมมลพิษนั้น มีการเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่สร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในพื้นที่ และภาคประชาชนมีโอกาสร่วมจัดทำแผนน้อยมาก เช่นเดียวกับผลการศึกษากรณีแผนแม่บทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 3 พ.ศ.2547-2561 และประเด็นผังเมืองรวมมาบตาพุด ก็พบว่า มีปัญหาเรื่องข้อมูลไม่ครบถ้วน และควรจะตั้งคณะกรรมการพหุภาคีระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อบริหารจัดการการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกในภาพรวมอย่างเป็นระบบ
นายสนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า การประกาศพื้นที่เป็นเขตควบคุมมลพิษหรือไม่ ต้องพิจารณาด้วยว่า ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นจริงหรือไม่ และขึ้นอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่ามีศักยภาพ และความเข้มแข็งหรือไม่ หากมอบอำนาจในการจัดการดูแลให้ แต่ที่สำคัญกว่าคือการสร้างจิตสำนึกด้านหลักธรรมาภิบาลแก่ผู้ประกอบการ เพื่อแก้ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างยั่งยืนกว่า ส่วนข้อสรุปจากการศึกษาจะเสนอไปยังเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้ใช้สิทธิ์นี้ในมาบตาพุดเป็นบทเรียนต่อนโยบายการจัดการบริหารพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ในส่วนของการละเลยธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน
นายสนิท อักษรแก้ว ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวว่า การประกาศพื้นที่เป็นเขตควบคุมมลพิษหรือไม่ ต้องพิจารณาด้วยว่า ทำให้สถานการณ์ดีขึ้นจริงหรือไม่ และขึ้นอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ว่ามีศักยภาพ และความเข้มแข็งหรือไม่ หากมอบอำนาจในการจัดการดูแลให้ แต่ที่สำคัญกว่าคือการสร้างจิตสำนึกด้านหลักธรรมาภิบาลแก่ผู้ประกอบการ เพื่อแก้ปัญหาการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างยั่งยืนกว่า ส่วนข้อสรุปจากการศึกษาจะเสนอไปยังเลขาธิการคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อให้ใช้สิทธิ์นี้ในมาบตาพุดเป็นบทเรียนต่อนโยบายการจัดการบริหารพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ ในส่วนของการละเลยธรรมาภิบาล และการมีส่วนร่วมของประชาชน