บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สำรวจพฤติกรรมการบริโภคสินค้าอาหารของคนกรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 9-23 มกราคม 2552 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,025 คน พบว่าคนกรุงเทพฯ ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 44.0 คาดว่ารายได้มีแนวโน้มลดลง แต่ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจซบเซาน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ เนื่องจากมีความวิตกกังวลในเรื่องความมั่นคงในหน้าที่การงาน และรายได้ในอนาคตน้อยกว่า
ส่วนอาชีพที่เผชิญผลกระทบอย่างมาก คือ พนักงานบริษัทหรือลูกจ้าง โดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างงานเหมา และลูกจ้างตามผลงาน รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง และค้าขายกิจการส่วนตัว จากการสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.4 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าอาหารให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปี 2552 โดยสินค้าอาหารสดยังจำเป็นต่อการบริโภค แต่เลือกซื้อสินค้าครั้งละไม่มาก คือ ซื้อเท่าที่จำเป็น เลือกซื้อจากตลาดนัดหรือร้านชำใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน และตลาดสด ส่วนการซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูป/อาหารสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่างรับพฤติกรรมโดยการลดปริมาณการบริโภค เปลี่ยนสถานที่ซื้อ เปลี่ยนยี่ห้อ เลิก/งดการบริโภค หรือหันไปบริโภคสินค้าอื่นทดแทน
สำหรับประเภทอาหารกึ่งสำเร็จรูป/อาหารสำเร็จรูปที่คนกรุงเทพฯระบุว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคแยกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มสินค้าอาหารที่ผู้บริโภคเลิก/งดการบริโภค ได้แก่ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนกลุ่มสินค้าอาหารที่ผู้บริโภคมีการปรับพฤติกรรมน้อยที่สุด เนื่องจากผู้บริโภคยังเห็นว่าเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องบริโภค หรือเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ แต่เลือกที่จะเปลี่ยนสถานที่ซื้อ และเปลี่ยนยี่ห้อ เพื่อหาซื้อสินค้าอาหารในราคาถูกที่สุด ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมพร้อมดื่มและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และน้ำผักผลไม้ สำหรับกลุ่มสินค้าอาหารที่ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมไม่รุนแรง ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว ฟาสต์ฟู้ดส์ อาหารสำเร็จรูป/บรรจุกระป๋อง และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่
ส่วนอาชีพที่เผชิญผลกระทบอย่างมาก คือ พนักงานบริษัทหรือลูกจ้าง โดยเฉพาะลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างงานเหมา และลูกจ้างตามผลงาน รองลงมาคือ อาชีพรับจ้าง และค้าขายกิจการส่วนตัว จากการสำรวจพบว่า คนกรุงเทพฯที่เป็นกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.4 เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการจับจ่ายสินค้าอาหารให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาในปี 2552 โดยสินค้าอาหารสดยังจำเป็นต่อการบริโภค แต่เลือกซื้อสินค้าครั้งละไม่มาก คือ ซื้อเท่าที่จำเป็น เลือกซื้อจากตลาดนัดหรือร้านชำใกล้บ้าน ใกล้ที่ทำงาน และตลาดสด ส่วนการซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูป/อาหารสำเร็จรูป กลุ่มตัวอย่างรับพฤติกรรมโดยการลดปริมาณการบริโภค เปลี่ยนสถานที่ซื้อ เปลี่ยนยี่ห้อ เลิก/งดการบริโภค หรือหันไปบริโภคสินค้าอื่นทดแทน
สำหรับประเภทอาหารกึ่งสำเร็จรูป/อาหารสำเร็จรูปที่คนกรุงเทพฯระบุว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคแยกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มสินค้าอาหารที่ผู้บริโภคเลิก/งดการบริโภค ได้แก่ เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ส่วนกลุ่มสินค้าอาหารที่ผู้บริโภคมีการปรับพฤติกรรมน้อยที่สุด เนื่องจากผู้บริโภคยังเห็นว่าเป็นสินค้าที่จำเป็นต้องบริโภค หรือเป็นสินค้าเพื่อสุขภาพ แต่เลือกที่จะเปลี่ยนสถานที่ซื้อ และเปลี่ยนยี่ห้อ เพื่อหาซื้อสินค้าอาหารในราคาถูกที่สุด ได้แก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นมพร้อมดื่มและผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ และน้ำผักผลไม้ สำหรับกลุ่มสินค้าอาหารที่ผู้บริโภคปรับพฤติกรรมไม่รุนแรง ได้แก่ ขนมขบเคี้ยว ฟาสต์ฟู้ดส์ อาหารสำเร็จรูป/บรรจุกระป๋อง และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่