รายงานชิ้นใหม่ที่เปิดเผยในที่ประชุมเศรษฐกิจโลกในเมืองดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ ระบุว่า โลกกำลังเข้าสู่ภาวะ "ล้มละลายในทรัพยากรน้ำ" เนื่องจากความต้องการใช้มีมากกว่าจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นมาก
รายงานระบุว่า ในอีกไม่ถึง 20 ปี ปัญหาขาดแคลนน้ำอาจทำให้ธัญพืชหายไปมากเท่าปริมาณผลผลิตธัญพืชทั้งหมดของอินเดีย และสหรัฐฯ ซึ่งนั่นหมายความว่า ในอีกหลายสิบปีข้างหน้าโลกจะเผชิญปัญหาอาหารราคาแพง เพราะโลกไม่สามารถบริหารจัดการน้ำสำหรับอนาคตได้ ในบางพื้นที่น้ำมีราคาถูกกว่าความเป็นจริงส่งผลให้มีการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งจะทำให้หลายพื้นที่ในโลกเข้าสู่ภาวะ " ล้มละลายในทรัพยากรน้ำ" และจะทำให้เครือข่ายเศรษฐกิจล่มสลายตามไปด้วย นอกจากนี้ยังระบุว่า ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัย และทิเบต ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงผู้คนราว 2,000 ล้านคน จะหมดไปภายในปี 2643 และแม่น้ำสายหลักทั่วโลกอีกราว 70 สายกำลังใกล้จะแห้งเหือดไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการทำชลประทานและการกักเก็บน้ำ
รายงานเผยว่า ร้อยละ 39 ของการใช้น้ำในสหรัฐฯ เป็นการใช้เพื่อผลิตพลังงาน และคิดเป็นร้อยละ 31 ของการใช้น้ำในสหภาพยุโรป ส่วนการใช้เพื่ออุปโภคบริโภคมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น และคาดว่า ความต้องการใช้น้ำเพื่อผลิตพลังงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 165 ในสหรัฐ และร้อยละ 130 ในสหภาพยุโรป ซึ่งจะแย่งชิงน้ำจากภาคการเกษตร และจะทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงน้ำจะรุนแรงขึ้นในอีก 20 ปีข้างหน้า ทำให้คาดว่า น้ำจะกลายเป็นทรัพยากรสำคัญที่ดึงดูดบรรดานักลงทุนยิ่งกว่าน้ำมัน
นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวต่อที่ประชุมเศรษฐกิจโลกเมื่อวานนี้ว่า ปัญหาน้ำจะลุกลามขยายวงไปทั่วโลก
รายงานระบุว่า ในอีกไม่ถึง 20 ปี ปัญหาขาดแคลนน้ำอาจทำให้ธัญพืชหายไปมากเท่าปริมาณผลผลิตธัญพืชทั้งหมดของอินเดีย และสหรัฐฯ ซึ่งนั่นหมายความว่า ในอีกหลายสิบปีข้างหน้าโลกจะเผชิญปัญหาอาหารราคาแพง เพราะโลกไม่สามารถบริหารจัดการน้ำสำหรับอนาคตได้ ในบางพื้นที่น้ำมีราคาถูกกว่าความเป็นจริงส่งผลให้มีการใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย ซึ่งจะทำให้หลายพื้นที่ในโลกเข้าสู่ภาวะ " ล้มละลายในทรัพยากรน้ำ" และจะทำให้เครือข่ายเศรษฐกิจล่มสลายตามไปด้วย นอกจากนี้ยังระบุว่า ธารน้ำแข็งในเทือกเขาหิมาลัย และทิเบต ซึ่งเป็นแหล่งน้ำหล่อเลี้ยงผู้คนราว 2,000 ล้านคน จะหมดไปภายในปี 2643 และแม่น้ำสายหลักทั่วโลกอีกราว 70 สายกำลังใกล้จะแห้งเหือดไปอย่างสิ้นเชิง เพราะการทำชลประทานและการกักเก็บน้ำ
รายงานเผยว่า ร้อยละ 39 ของการใช้น้ำในสหรัฐฯ เป็นการใช้เพื่อผลิตพลังงาน และคิดเป็นร้อยละ 31 ของการใช้น้ำในสหภาพยุโรป ส่วนการใช้เพื่ออุปโภคบริโภคมีเพียงร้อยละ 3 เท่านั้น และคาดว่า ความต้องการใช้น้ำเพื่อผลิตพลังงานจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 165 ในสหรัฐ และร้อยละ 130 ในสหภาพยุโรป ซึ่งจะแย่งชิงน้ำจากภาคการเกษตร และจะทำให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงน้ำจะรุนแรงขึ้นในอีก 20 ปีข้างหน้า ทำให้คาดว่า น้ำจะกลายเป็นทรัพยากรสำคัญที่ดึงดูดบรรดานักลงทุนยิ่งกว่าน้ำมัน
นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ กล่าวต่อที่ประชุมเศรษฐกิจโลกเมื่อวานนี้ว่า ปัญหาน้ำจะลุกลามขยายวงไปทั่วโลก