นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ว่า เศรษฐกิจไทยมีสัญญาณชะลอตัวมาก ทั้งในด้านอุปสงค์จากต่างประเทศ จากปริมาณการส่งออกที่หดตัว ขณะที่อุปสงค์ภายในประเทศในด้านการบริโภคยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง และการลงทุนภาคเอกชนมีสัญญาณอ่อนแอและปรับตัวลดลงจากไตรมาสที่ 3 ของปี 2551
ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 โดยเครื่องชี้จากภาษีมูลค่าเพิ่มไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.1 ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวร้อยละ 2.5 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 สะท้อนถึงการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชนในส่วนภูมิภาค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ส่งผลต่อรายได้เกษตรกร และกำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาค ด้านการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 หดตัวร้อยละ 5.6 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 22.2 ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 สำหรับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ 32.7
ทั้งนี้ การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 โดยเครื่องชี้จากภาษีมูลค่าเพิ่มไตรมาสที่ 4 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.1 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.1 ปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคหดตัวร้อยละ 2.5 ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 8.0 จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 16.2 สะท้อนถึงการใช้จ่ายที่ลดลงของประชาชนในส่วนภูมิภาค ส่วนหนึ่งเป็นเพราะราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก ส่งผลต่อรายได้เกษตรกร และกำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาค ด้านการลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสที่ 4 ปี 2551 ชะลอตัวลงเช่นกัน สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสที่ 4 หดตัวร้อยละ 5.6 จากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 22.2 ขณะที่การนำเข้าสินค้าทุนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.6 สำหรับปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ไตรมาส 4 หดตัวร้อยละ 32.7